ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ตุลาคม 2565 : อยู่ในขั้นตอนการจัดทำเอกสาร/สื่อ เผยแพร่การสร้างความโปร่งในการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน พฤศจิกายน 2565 : อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารเผยแพร่การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ธันวาคม 2565 : จัดทำเอกสารการปฏิบัติราชการเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-book และเผยแพร่ให้บุคลากร สผว.กทม. ได้ศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
มกราคม 2566 คณะกรรมการเจรจาตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร กำหนดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณา ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการปรับเกณฑ์การให้คะแนนความสำเร็จ ซึ่งสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการตามมติของที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว กุมภาพันธ์ 2566 อยู่ในห้วงเวลาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างการรับรู้การป้องกันการทุจริต มีนาคม 2566 สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามเกณฑ์คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน อยู่ในขั้นตอนการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
เมษายน 2566 - สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ : OIT ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ปปช. กำหนด และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว พฤษภาคม 2566 - สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ OIT ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ปปช. กำหนดเรียบร้อยแล้ว มิถุนายน 2566 - สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามเกณฑ์คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ในแบบวัดการรับรู้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบวัดการรับรู้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (OIT) เสร็จเรียบร้อยแล้ว
-คุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ หมายถึง คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นวิธีการปฏิบัติราชการที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นเกณฑ์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในหน่วยงาน โดยการเปิดเผยข้อมูล และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมประเมินหรือแสดงความคิดเห็น -การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ หมายถึง การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการทุจริต และเป็นการวัดประเมินจากระดับความสำเร็จในการดำเนินการตามเกณฑ์ ITA
1. จัดทำเอกสารเผยแพร่การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 2. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ทราบถึงเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมการต่อต้านการทุจริต 3. ดำเนินกิจกรรมการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 4. วัดทัศนคติของบุคลากรสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยแบบวัดการรับรู้ด้านการต่อต้านการทุจริต และการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 5. สรุปผลการดำเนินการกิจกรรม และรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
:๗.๓.๑.๓ ส่งเสริมด้านคุณธรรมความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลและส่งเสริมให้กรุงเทพมหานครมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น |