ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 50
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
หนังสือสำนักงาน ก.ก. ด่วนที่สุด ที่ กท 0303/163 ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 แจ้งหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้ทุกหน่วยงานส่งแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ พร้อมด้วยเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
สำนักงาน ก.ก. ได้คัดเลือกแนวคิดการสร้างความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานโดยใช้การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งและการสร้างพื้นที่ทำงานและการสื่อสารผ่านออนไลน์ (จากแนวคิดทั้งหมด 9 แนวคิด) และจัดทำ "โครงการการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งและการสร้างพื้นที่ทำงาน และการสื่อสารผ่านออนไลน์" โดยมติคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่1/2566 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 มีมติให้ผ่าน โดยให้ปรับปรุงแก้ไข โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเป็นหน่วยงานที่มีจำนวนผู้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งเป็นจำนวนมาก และระบุลักษณะงาน และนิยามของแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และสำนักงาน ก.ก. ได้ดำเนินการปรับแก้ไขโครงการตามมติคณะกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว
(วิเคราะห์คัดเลือกหน่วยงานที่มีความพร้อมเพื่อทดลองเป็นหน่วยงานทดลองดำเนินการ (Sandbox) ในการดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับวิถีชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ของ กทม.)
นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (ที่มา : ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย สำนักงาน ก.พ.ร.) การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม : หน่วยงานพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้ นวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation) เป็นการคิดริเริ่มนโยบาย กฎหมายและกฎใหม่ๆ ให้ทันสมัย เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการด้วยการนำแนวคิด องค์ความรู้ ประสบการณ์ หรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่สอดคล้อง และทันต่อความต้องการของประชาชน/ผู้รับบริการ นวัตกรรมการบริหาร/องค์กร (Administrative or Organizational Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนงานใหม่ (New Process) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือกระบวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานรูปแบบใหม่ ที่ส่งผลต่อระบบการทำงานขององค์กร
วิธีการคำนวณ คะแนนรวม = ส่วนที่ 1 + ส่วนที่ 2 + ส่วนที่ 3 เมื่อได้คะแนนรวมแล้ว จึงนำผลที่ได้มาเทียบหาระดับคะแนนที่ได้รับของตัวชี้วัดความสำเร็จ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เทียบระดับคะแนนที่จะได้รับตามช่วงการปรับเกณฑ์การให้คะแนน
1. แบบเสนอแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 1) 2. แบบสรุปผลการคัดเลือกแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 2) 3. แบบนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 3) พร้อมแผนการดำเนินการ 4. โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 4) 5. เอกสาร/หลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการพัฒนานวัตกรรม เช่น นวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเสร็จ การนำนวัตกรรมไปใช้ ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม รายงานการประชุม รายงานสรุปผลการดำเนินการ ภาพถ่าย ฯลฯ
:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |