รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

5.2 ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหาร ราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว : 0402-835

ค่าเป้าหมาย : 0

ผลงานที่ทำได้ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
()
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
80.00
100
100 / 0
4
100.00

100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

25/05/2566 : ดำเนินการนำส่งคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงานบริกรข้อมูลของสำนักงานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร บัญชีรายการข้อมูล และแผนพัฒนาข้อมูลฯ ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเรียบร้อยแล้ว และมีการจัดประชุมคณะทำงานบริการฯ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อคัดเลือกชุดข้อมูล 11 ชุดข้อมูล จัดทำข้อมูลที่มีคุณค่าสูงของสำนักงานการเจ้าหน่าที่ 27/06/2566 : ในระบบ Data Bangkok ของสำนักงานการเจ้าหน้าที่ สนป. มี 11 ชุดข้อมูล และแจ้งคณะทำงานบริกรฯ เพื่อให้ปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันประจำทุกเดือน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

25/07/2566 : นำเข้าชุดข้อมูลในระบบ Data Bangkok จำนวนทั้งหมด 12 ชุดข้อมูล และอยู่ในขั้นตอนนำเสนอชุดข้อมูลต่อคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลฯ เพื่อคัดเลือกชุดข้อมูลนำมาจัดทำเป็น Dashboard ในขั้นตอนที่ 3 ต่อไป 23/08/2566 : อยู่ระหว่างการนำชุดข้อมูลไปพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ตามภารกิจของสำนักงานการเจ้าหน้าที่จำนวน 2 เรื่อง 20/09/2566 : จัดทำ Dashboard จำนวน 2 ชุดข้อมูล และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักงานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ชุดข้อมูล (Dataset) หมายความว่า ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้จากหลายแหล่ง และนำข้อมูล มาจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูลที่กำหนดไว้หรือการใช้ประโยชน์ของข้อมูล ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันได้ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมหรือภารกิจของหน่วยงาน โดยแต่ละฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลาย ๆ ชุดข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์กัน บัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียด แหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายชุดข้อมูลอย่างละเอียด เป็นรายตัวแปร โดยมีส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูลรายตัวแปร 3 รายการ ได้แก่ ชื่อตัวแปรข้อมูล ชนิดของตัวแปรข้อมูล และคำอธิบายตัวแปรข้อมูล ชุดข้อมูลที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine-readable) หมายถึง ข้อมูลต้องมีโครงสร้าง สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องและนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้ โดยมีคุณลักษณะที่เหมาะสม ดังนี้ 1. ข้อมูลต้องมีโครงสร้างโดยจะต้องจัดอยู่ในรูปแบบแถวและคอลัมน์ 2. ข้อมูลแต่ละรายการจะต้องจัดเก็บอยู่ในช่องหรือเซลล์เดียวเท่านั้น 3. การตั้งชื่อคอลัมน์ควรสอดคล้องตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของภาษาคอมพิวเตอร์ 4. ข้อมูลควรถูกจัดโครงสร้างในรูปแบบตารางรายการ (Transaction Table) 5. รูปแบบของข้อมูลจะต้องมีความคงเส้นคงวา (Consistency) 6. ข้อมูลควรถูกจัดเก็บในรูปแบบรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจง่าย 7. ชุดข้อมูลจะต้องกำหนดประเภทการเข้ารหัส (Encoding) ที่สอดคล้องกับภาษาของข้อมูล ที่จัดเก็บ 8. ชุดข้อมูลควรบันทึกอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม 9. ชุดข้อมูลต้องบันทึกอยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถประมวลผลด้วยเครื่อง ระดับการเปิดเผยข้อมูล หมายถึง กลุ่มของประเภทข้อมูลที่จัดระดับการเปิดเผยข้อมูลตามความ สะดวกต่อการนำไปใช้งาน โดยจัดระดับการเปิดเผยข้อมูลเป็น 5 ระดับ ★★★★★ (5 ดาว) ข้อมูลมีการเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นๆ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกันได้ RDF (Linked Data) ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง หรือชุดข้อมูลที่มีศักยภาพสูง (High Value Datasets) หมายถึง ชุดข้อมูล ที่สอดคล้องตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร สถาปัตยกรรม องค์กรของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องตามรายชื่อชุดข้อมูลตามผลสำรวจของสำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) หรือตามผลสำรวจความต้องการใช้ชุดข้อมูลของกรุงเทพมหานครที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง มีรูปแบบ อยู่ในระดับ 3 เป็นอย่างน้อย (3 ดาว) มีประโยชน์ต่อทั้งหน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูล ตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างกว้างขวาง ศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เว็บไซต์ที่ให้บริการหรือเผยแพร่ข้อมูลเปิด ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อ “data.bangkok.go.th” เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถแสดงตัวอย่างข้อมูล (Preview) การแสดง ข้อมูลด้วยภาพ (Visualization) และเอพีไอ (API) แบบอัตโนมัติให้กับชุดข้อมูลที่เผยแพร่ได้ รวมทั้งยังสามารถ จัดการชุดข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลได้ คณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน หมายถึง คณะทำงานที่ทำหน้าที่ตัดสินใจเชิง นโยบาย แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการด้านข้อมูลของหน่วยงาน เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และดำเนินการกำกับ ดูแลข้อมูลให้มีคุณภาพ โดยนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานครไปดำเนินการ รวมถึงทบทวน และติดตามการดำเนินงานธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน คณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน หมายถึง คณะทำงานที่ทำหน้าที่ดำเนินการกำกับดูแล ติดตามสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลที่ดีภายในหน่วยงาน และรายงานผลการดำเนินการธรรมาภิบาลข้อมูล รวมทั้งการให้ข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจต่อคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง