รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

8/สปท.ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 0406-0772

ค่าเป้าหมาย คะแนน : 10

ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คะแนน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
30.00
100
100 / 100
2
50.00
0
0 / 0
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ คณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการระบบงานของสำนักงานปกครองและทะเบียน อยู่ระหว่างขั้นตอนการค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา หรือความต้องการที่จะพัฒนางาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานปกครองและทะเบียน จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชุด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สำนักงานปกครองและทะเบียน สามารถดำเนินการตามแนวทางการดำเนินการครบทุกขั้นตอน และสามารถออกให้บริการงานทะเบียน ณ ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เขตบางพลัด คิดเป็นจำนวน 8 วันทำการแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากกระจายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือ ที่ กท 0406/191 ลงวันที่ 15 เมษายน 2564 ให้งดบริการด้านงานทะเบียน ซึ่งรวมถึง รถบริการงานทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok Mobile Service) จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) จะคลี่คลาย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักงานปกครองและทะเบียน สามารถดำเนินการตามแนวทางการดำเนินการครบทุกขั้นตอน และสามารถออกให้บริการงานทะเบียน ณ ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เขตบางพลัด คิดเป็นจำนวน 8 วันทำการแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากกระจายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือ ที่ กท 0406/191 ลงวันที่ 15 เมษายน 2564 ให้งดบริการด้านงานทะเบียน ซึ่งรวมถึง รถบริการงานทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok Mobile Service) จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) จะคลี่คลาย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. สำนักงานปกครองและทะเบียน โดยคณะกรรมการฯ และคณะทำงานบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการระบบงาน ของสำนักงานปกครองและทะเบียน ค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา หรือความต้องการที่จะพัฒนางาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน จำนวน 10 เรื่อง 2. คณะกรรมการฯ และคณะทำงานบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการระบบงานของสำนักงานปกครองและทะเบียน พิจารณาเลือก 1 ความคิดเห็น เรื่อง การให้บริการรถบริการงานทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok mobile Service) ในเชิงรุก เพื่อนำมา พัฒนาหรือปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ 3. คณะกรรมการฯ และคณะทำงานบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการระบบงานของสำนักงานปกครองและทะเบียน นำความคิดเห็น เรื่อง การให้บริการรถบริการงานทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok mobile Service) ในเชิงรุก มาจัดทำเป็นโครงการ ให้บริการงานทะเบียนตรงใจด้วย “On – Demand Service” เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้คณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 4. สำนักงานปกครองและทะเบียน ดำเนินโครงการบริการงานทะเบียนตรงใจ ด้วย “On – Demand Service” ที่ผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมของกรุงเทพมหานคร ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในโครงการ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย ตามตัวชี้วัด ที่กำหนด ดังนี้ 4.1 มีคำสั่งสำนักงานปกครองและทะเบียน ที่ 4/2564 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2564 แต่งตั้งคณะกรรมการฯ และคณะทำงานโครงการ บริการงานทะเบียนตรงใจด้วย “On – Demand Service” ซึ่งคณะทำงานฯ ประกอบด้วยคณะทำงานย่อย จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านการประสานงาน ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน 4.2 ประชาสัมพันธ์โครงการ และขั้นตอนการขอรับบริการ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ดังนี้ 4.2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางการสื่อสารระบบสารสนเทศของสำนักงานปกครองและทะเบียน ได้แก่ เว็บไซต์ ไลน์ เฟสบุ๊ก เป็นต้น 4.2.3 จัดทำภาพยนตร์สั้น (Clip Video) เรื่อง “CLICK TO CARD” ทำบัตรนัดเลย ประชาสัมพันธ์ผ่าน Application YouTube 4.2.3 มีหนังสือสำนักงานปกครองและทะเบียน ที่ กท 0406/2006 ลงวันที่ 2 เมษายน 2564 ขอความอนุเคราะห์ทุกหน่วยงาน ในสังกัดกรุงเทพมหานครประชาสัมพันธ์โครงการบริการงานทะเบียนตรงใจด้วย “On – Demand Service” 4.3 สำนักงานปกครองและทะเบียน ออกให้บริการงานทะเบียนตามโครงการบริการงานทะเบียนตรงใจด้วย “On – Demand Service” ณ ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี เขตบางพลัด ตั้งแต่วันที่ 1 – 9 เมษายน 2564 รวม 8 วัน (วันที่ 6 เมษายน 2564 เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์) มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 132 คน 4.4 ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือ ที่ กท 0406/191 ลงวันที่ 15 เมษายน 2564 ให้งดบริการด้านงานทะเบียน ซึ่งรวมถึงรถบริการ งานทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok Mobile Service) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากกระจายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) จะคลี่คลาย 4.5 สำนักงานปกครองและทะเบียน มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0406/3937 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ขออุทธรณ์โครงการฯ ตามหลักเกณการอุทธรณ์การปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงข้อ 1 ปัจจัยภายนอกของหน่วยงาน ผลการพิจารณา ตามข้อ 2 คงตัวชี้วัดเดิมโดยปรับเกณฑ์การให้คะแนนหรือผลการให้คะแนน เป็น “นำนวัตกรรมที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการนวัตกรรมของกรุงเทพมหานคร ไปใช้ประโยชน์” ตัดคำว่า “เวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน (1 เมษายน – 30สิงหาคม 2564)” ออก 4.6 คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร มีหนังสือที่ กท 0303/2208 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เชิญสำนักงาน ปกครองและทะเบียน ประชุมเพื่อพิจารณาการอุทธรณ์การปฏิบัติราชการฯ ในวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564 มีมติรับอุทธรณ์ และมีความเห็น ดังนี้ 1) ให้หน่วยงานดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานใน 8 ครั้งที่ผ่านมาว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2) ดำเนินการสร้างกระบวนการในการสื่อสารประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจต่อผู้รับบริการในรูปแบบออนไลน์หรือรูปแบบอื่น ในกรณีที่ไม่สามารถออกให้บริการในพื้นที่จริงได้ ให้ประชาชนรับทราบว่าหน่วยงานมีวิธีการหรือรูปแบบการให้บริการในเรื่อง ที่ประชาชนขอรับบริการอย่างไร และประชาชนจะต้องดำเนินการอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องดำเนินการให้ครบถ้วน ทั้ง 22 ครั้ง ตามสัดส่วนของแผนการดำเนินการเดิมที่กำหนดไว้ 4.7 สำนักงานปกครองและทะเบียน ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการแล้วเสร็จ ดังนี้ 4.7.1 ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานใน 8 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 4.7.2 จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok Mobile Service) โดยใช้ Google Form 4.7.3 ประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจต่อผู้รับบริการ กรณีที่ไม่สามารถออกให้บริการงานทะเบียนตรงใจด้วย “On – Demand Service” ได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ในเว็บไวต์ของสำนักงานปกครองและทะเบียน 5. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหนังสือที่ ฝบ. 634/2564 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 จัดทำแบบสำรวจผลการนำนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ (โครงการให้บริการงานทะเบียนตรงใจด้วย “On – Demand Service”) ให้ผู้อำนวยการสำนักงานปกครอง และทะเบียนให้ความเห็นชอบ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (ที่มา : ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย สำนักงาน ก.พ.ร.) หน่วยงานนำเสนอนวัตกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้ นวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation) เป็นการคิดริเริ่มนโยบาย กฎหมายและกฎใหม่ ๆ ให้ทันสมัย เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการด้วยการนำแนวคิด องค์ความรู้ ประสบการณ์ หรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ ที่สอดคล้อง และทันต่อความต้องการของประชาชน/ผู้รับบริการ นวัตกรรมการบริหาร/องค์กร (Administrative or Organizational Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนงานใหม่ (New Process) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือกระบวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานรูปแบบใหม่ ที่ส่งผลต่อ ระบบการทำงานขององค์กร การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงาน บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและ ผู้รับบริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

การประเมินการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน พิจารณาจาก ระดับความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนการค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา หรือความต้องการที่จะพัฒนางาน โดยเสนอแนวคิดภายใต้รูปแบบที่กำหนดตามแบบฟอร์มการมีส่วนร่วมแสดง ความคิดเห็นในการพัฒนา/ปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 1) โดยกำหนดจำนวนแบบฟอร์มที่หน่วยงานที่รับการประเมินต้องส่งให้สำนักงาน ก.ก. ดังนี้ 1. หน่วยงานระดับสำนัก จำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชุด 2. สำนักงานเขต จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ชุด 3. ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชุด ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการคัดเลือกความคิดเห็นจากขั้นตอนที่ 1 โดยคณะผู้บริหาร/คณะทำงาน ของแต่ละหน่วยงานกำหนดให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาเลือกเพียง 1 ความคิดเห็น เพื่อนำมาพัฒนา หรือ ปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ระบุรายละเอียดของแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือก ในแบบสรุปผลการคัดเลือกความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 2) ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการนำเสนอโครงการ โดยหน่วยงานนำแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกตาม ขั้นตอนที่ 2 มาจัดทำโครงการนวัตกรรมฯ 1 โครงการ (แบบฟอร์ม 3) พร้อมจัดทำแบบฟอร์มนำเสนอโครงการ พัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 4) เพื่อเสนอคณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป ทั้งนี้โครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่นำเสนอไม่จำเป็นต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ เดียว สามารถนำเสนอโครงการฯ ระยะยาวที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ โดยกำหนดเป้าหมายโครงการแต่ละปีงบประมาณให้ชัดเจน ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดยหน่วยงานดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ตามแนวทาง/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย ตามตัวชี้วัดที่กำหนด และส่งเอกสาร หลักฐานให้สำนักงาน ก.ก. พิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการจัดทำแบบสำรวจผลการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยให้ หน่วยงานจัดทำตาม (แบบฟอร์ม 5) และนำเสนอต่อผู้บริหารหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ เพื่อพิจารณาให้ความ เห็นชอบ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

คะแนนรวม = ส่วนที่ 1 + ส่วนที่ 2 + ส่วนที่ 3

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง