รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

10/สปท.5.2 ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ : 0406-0774

ค่าเป้าหมาย คะแนน : 10

ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 80

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คะแนน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
30.00
100
100 / 100
2
50.00
0
0 / 0
3
80.00
100
100 / 100
4
0.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาข้อมูลของแต่ละส่วนราชการที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของส่วนราชการ รวมทั้งเสนอการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สำนักงานปกครองและทะเบียนรายงานการนำข้อมูลมูลนิธิไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักงานปกครองและทะเบียนรายงานการนำข้อมูลมูลนิธิไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของ เอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพ หรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่ บันทึกไว้ปรากฏได้ ชุดข้อมูล หมายความว่า การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล บัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนก แยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุ รายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจาก แหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชี รายการข้อมูล (Data Catalog) ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย 1) การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการข้อมูลของหน่วยงาน 2) การวางแผนการดำเนินงาน การปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน การตรวจสอบและการรายงานผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบบริหารและ กระบวนการจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และคุ้มครองข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ 3) การกำหนดมาตรการควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมินความพร้อม ของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมินความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูล 5) การจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สาหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ 6) การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ และบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผน การพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100) ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผลพิจารณาการดำเนินงานของหน่วยงาน แบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ. 2563 คือ ความสมบูรณ์ของ การนำเข้าข้อมูล และเชื่อมโยงระบบย่อยของหน่วยงาน 1.1 ความครบถ้วนและความถูกต้องในการนำเข้าข้อมูล 1.2 การนำเข้าข้อมูลในระบบภายในกำหนด ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ การพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกัน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

แนวทางการประเมินผล พิจารณาการดำเนินงานของหน่วยงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100) ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยหน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ 1.1 สำนัก สำนักงาน และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดเก็บ ข้อมูลและนำเข้าชุดข้อมูลประกอบตัวชี้วัดเมืองทุกรายการ ในระบบบันทึกข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 หรือในอนาคตอาจเรียกชื่ออื่น 1.2 สำนักงานเขต ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ของเขตทุกรายการในระบบบันทึกข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 หรือในอนาคตอาจเรียกชื่ออื่น และระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร (District Catalog) ทั้งนี้ การบันทึกข้อมูลในระบบฯ ดังกล่าวให้ดำเนินการตามลักษณะของข้อมูลตามที่หน่วยงาน และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนดไว้ ร่วมกันเพื่อรักษาสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องดำเนินการตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) ด้วย ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ โดยหน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ 2.1 หน่วยงานดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่เป็นการปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้นจำนวน 1 เรื่องหรือพิจารณาจากภารกิจที่หน่วยงานเสนอไว้ใน แผนพัฒนาฐานข้อมูลปี 2563 แต่ยังไม่ได้ดำเนินการมาพัฒนา หรือพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ที่ยังไม่มีการดำเนินการมาก่อน ซึ่งการพัฒนาหรือปรับปรุงฐานข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ และต้องเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่ซ้ำกับชุดข้อมูลประกอบตัวชี้วัดเมืองที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ข้อ 1) การจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในเวลาที่กำหนด 2.2 การพัฒนาชั้นข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ต้องมีการแจกแจงประเภทชนิดข้อมูล ด้วยการจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และจัดให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูล (Database) และ พัฒนาให้อยู่ในรูปแบบระบบสารสนเทศที่สามารถนำเข้า สืบค้น และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์การนำเข้าข้อมูล ที่ถูกต้อง ครบถ้วนทันสมัย ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของ หน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของ กรุงเทพมหานครและต้องเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศกลางตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด 2.3 การนำฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ (1) ภายในหน่วยงาน (2) ระหว่าง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานภายนอกสังกัดกรุงเทพมหานครหรือประชาชน ซึ่งหน่วยงาน ต้องมีการแสดงหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ การดำเนินงานหน่วยงานต้องดำเนินการตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) รวมถึงแนวทางและปฏิทินที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ%
:๗.๔.๑.๔ ปรับปรุงมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านการเงินการบัญชี และการตรวจสอบ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง