รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ : 0409-0925

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
7.00
100
100 / 100
2
10.00
100
100 / 100
3
10.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ ดังต่อไปนี้ - ศึกษาข้อมูลเพื่อจัดเตรียมโครงการ - สร้างแบบสำรวจ เพื่อเตรียมดำเนินการสำรวจสถานะองค์กรสุขภาวะและความต้องการพัฒนาองค์กรสุขภาวะของหน่วยงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ดำเนินการรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว - เปลี่ยนแปลงการฝึกอบรมเป็นจำนวน 2 รุ่น - เลื่อนกำหนดการฝึกอบรม จากการพิจารณาตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้โปรดเห็นชอบให้สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแจ้งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครทราบ และดำเนินการตามนัยหนังสือสำนักงานเลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ กท 0200/ป.69/2563 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2563 ข้อ 10 ระบุว่า “ให้เลื่อนการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ จนกว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะปลอดภัย”

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ ดังต่อไปนี้ -ประสานหน่วยงานคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย เป็นตัวแทนในการเรียนรู้แนวคิดองค์กรสุขภาวะและร่วมจัดทำแผนองค์กรสุขภาวะ - เตรียมผลิตสื่อการเรียนออนไลน์เพื่อทดแทนการฝึกอบรมที่มีข้อจำกัดในการดำเนินการ - เตรียมขออนุมัติดำเนินการโครงการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการผลิตสื่อประเภทออนไลน์ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรภาครัฐ และเผยแพร่สื่อดังกล่าวเรียบร้อย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

องค์กรสุขภาวะ หมายถึง องค์กรที่มีการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรให้เกิดความสุขในการทำงาน ส่งผลดีต่อสุขภาพกายใจรวมทั้งการส่งเสริมค่านิยม ร่วมมุ่งสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ความสำเร็จของการขับเคลื่อนตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ หมายถึง ความสำเร็จในการดำเนินการหลักสูตร/กิจกรรม ๑. การสร้างความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาองค์การให้กับหน่วยงาน ๒. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจแนวคิด กระบวนการการสร้างองค์กรสุขภาวะ และสามารถ บูรณาการความรู้ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะที่สอดคล้องด้านใดด้านหนึ่งได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ รุ่นละ ๑ แผน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. (ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในระดับมากขึ้นไป x 100/จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด) 2. (จำนวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ x 100/จำนวนรุ่นที่ดำเนินการอบรม) ผลสำเร็จตามค่าเป้าหมายเฉลี่ย = ผลสำเร็จของ (๑ + ๒)/๒

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

การเก็บข้อมูล ๑. การประเมินผลหลักสูตร ๒. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง