รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาข้าราชการใน สังกัดสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครตามรูปแบบการเรียนรู้และพัฒนา Model70 : 20 : 10 : 0409-0949

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
95
95 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
5.00
95
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. วางแผนการดำเนินการ 2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 3. จัดทำแบบสำรวจสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. จัดทำแบบประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล (สำหรับผู้รับการประเมินและผู้บังคับบัญชา) 2. ทอดแบบประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล (สำหรับผู้รับการประเมินและผู้บังคับบัญชา) 3. สรุปความแบบประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล (สำหรับผู้รับการประเมินและผู้บังคับบัญชา) เพื่อจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1.จัดทำพัฒนารายบุคคลและเริ่มดำเนินการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้วยวิธีการพัฒนาที่กำหนด 2.พัฒนารายบุคคลโดยมีการบันทึกข้อมูลการพัฒนาลงในแบบบันทึกกิจกรรม 3.พัฒนาตามแผน และออกแบบเครื่องมือติดตามประเมินผล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. ประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล 2. ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวนกลุ่มเป้าหมายตามโครงการกำหนดไว้ 72 คน เนื่องจากจำนวนนักทรัพยากรบุคคลสังกัดสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีการเปลี่ยนแปลงจากการโอน/ย้าย ทำให้มีจำนวนคงเหลือทั้งสิ้น 64 คน (ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 12 คน ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการ จำนวน 52 คน) 3. สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาข้าราชการ ในสังกัดสถาบันฯ ตามรูปแบบ การเรียนรู้และพัฒนา Model 70:20:10 เพื่อพัฒนานักทรัพยากรบุคคลระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการ จำนวน 52 คนและระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 12 คน รวม 64 คน โดยมีการดำเนินงานตามระดับการวัดความสำเร็จของตัวชี้วัด ดังนี้ ระดับที่ 1 มีการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล การวัดผลการดำเนินงาน ระดับที่ 1 - ร้อยละ 100 ของข้าราชการได้รับการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนาเป็นรายบุคคล (ผลผลิต) ผลการดำเนินการ ประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคลของนักทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ขออนุมัติดำเนินกิจกรรม 1.2 จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการกิจกรรมฯ 1.3 จัดทำแบบการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล จำนวน 2 แบบ คือ แบบสำหรับผู้ปฏิบัติงานและ แบบประเมินสำหรับผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ระดับ โดยออกแบบจากข้อมูล การวิเคราะห์สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันฯ ซึ่งได้วิเคราะห์จากสมรรถนะของกลุ่มงาน/ สายงานตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลที่กำหนดใน Training Road map รวมทั้งพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถาบันฯ จากนั้นจึงนำมาสรุปเป็นสมรรถนะที่นักทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ ต้องพัฒนาประกอบด้วยสมรรถนะ 8 หัวข้อ ได้แก่ 1) การบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM) 2) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (HRD) 3) การจัดการข้อมูล 4) การสื่อสารและการนำเสนอ 5) การบริหารการเปลี่ยนแปลง 6) การให้คำปรึกษา 7) การเขียนเชิงวิชาการ 8) หัวข้อความรู้และทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 1.4 ประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคลของนักทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยนักทรัพยากรบุคคลแต่ละคนประเมินตนเองและให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ระดับประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละรายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับหัวข้อวิชาในการพัฒนารายบุคคล โดยให้เลือกหัวข้อวิชาสำหรับพัฒนา 3 ลำดับ (เรียงตามความสำคัญ) 1.5 จัดทำสรุปหัวข้อวิชาในการพัฒนารายบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยกำหนดให้พัฒนาในหัวข้อวิชาที่เลือกมาเป็นลำดับที่ 1 ระดับที่ 2 มีการกำหนดแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล การวัดผลการดำเนินงาน ระดับที่ 2 - ร้อยละ 100 ของข้าราชการมีการกำหนดแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล (ผลผลิต) ผลการดำเนินการ จัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลของนักทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ จำนวน 64 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ออกแบบแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล 2.2 ส่งแบบแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลให้นักทรัพยากรบุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกำหนดรายละเอียด ระดับที่ 3 ดำเนินการพัฒนาตามที่วางแผนไว้ การวัดผลการดำเนินงาน ระดับที่ 3 - ร้อยละ 80 ของข้าราชการได้รับการพัฒนาตามที่วางแผน (ผลผลิต) ผลการดำเนินการ นักทรัพยากรบุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองตามหัวข้อวิชาที่กำหนดในแผน(ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนหัวข้อวิชา สามารถชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและทำความตกลงกับผู้บังคับบัญชาได้) มีระยะเวลาการพัฒนาตนเองรวม 2 เดือน ระหว่างพฤษภาคม - มิถุนายน 2564 จำนวนผู้ดำเนินการพัฒนารายบุคคล 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปได้ดังนี้ 3.1 หมวดวิชา/วิชาที่พัฒนา 3.1.1 หมวดวิชาการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM) จำนวน 9 คน - วิชาความรู้พื้นฐานการบริหารทรัพยากรบุคคล (3 คน) - วิชาการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (2 คน) - วิชากฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล (4 คน) 3.1.2 หมวดวิชาการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (HRD) จำนวน 39 คน - วิชาการหาความจำเป็นเพื่อการพัฒนาบุคลากร (Training Needs) (14 คน) - วิชาการสร้างและพัฒนาหลักสูตร (5 คน) - วิชาการเขียนโครงการ (9 คน) - วิชาการบริหารจัดการโครงการ (4 คน) - วิชาการบริหารงบประมาณและการเงิน (3 คน) - วิชาการประเมินผลและติดตามผล (3 คน) - วิชากฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (1 คน) 3.1.3 หมวดวิชาการจัดการข้อมูล จำนวน 5 คน - วิชาการจัดการข้อมูลบุคลากร /ทักษะเกี่ยวกับระบบข้อมูลบุคลากร (4 คน) - วิชาการจัดการความรู้ (1 คน) 3.1.4 หมวดวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ จำนวน. 1 คน - วิชาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (1 คน) 3.1.5 หมวดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง จำนวน 3 คน - วิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง (3 คน) 3.1.6 หมวดวิชาการให้คำปรึกษา จำนวน 3 คน - วิชาเทคนิคการให้คำปรึกษาและแนะนำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (1 คน) - วิชาเทคนิคการให้คำปรึกษาแนะนำ (2 คน) 3.1.7 หมวดวิชาการเขียนเชิงวิชาการ จำนวน 4 คน - วิชาการเขียนเชิงวิชาการ (4 คน) 3.1.8 หมวดวิชาหัวข้อความรู้และทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน - วิชาการคิดสร้างสรรค์ (1 คน) - วิชาทักษะใหม่ในการทำงานยุคดิจิทัล (1 คน) หมายเหตุ มีนักทรัพยากรบุคคลที่พัฒนาตนเองมากกว่า 1 หมวดวิชา/วิชาจำนวน 2 คน 3.2 รูปแบบการพัฒนารายบุคคล แบบ 70 : 20 : 10 3.2.1 พัฒนาตนเองแบบ 70 จำนวน 54 คน ด้วยวิธีการดังนี้ - เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – Leaerning) - เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (on the job Training) - การมอบหมายงาน - การฝึกปฏิบัติ 3.2.2 พัฒนาตนเองแบบ 20 จำนวน 4 คน ด้วยวิธีการดังนี้ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น - การขอคำปรึกษาแนะนำจากผู้อื่น 3.2.3 พัฒนาตนเองแบบ 10 จำนวน 16 คน ด้วยวิธีการดังนี้ - เรียนออนไลน์ (e-learning) หมายเหตุ มีนักทรัพยากรบุคคลที่พัฒนาตนเองมากกว่า 1 รูปแบบ จำนวน 8 คน ระดับที่ 4 มีการประเมินผลการพัฒนา โดยมีผลการพัฒนาที่ดีขึ้น การวัดผลการดำเนินงาน ระดับที่ 4 - ร้อยละ 80 ของข้าราชการมีการประเมินผลการพัฒนาที่ดีขึ้น (ผลลัพธ์) ผลการดำเนินการ นักทรัพยากรบุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับหัวข้อวิชาที่กำหนดไว้ตามแผนพัฒนาตนเอง สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยได้ดำเนินการดังนี้ 4.1 ออกแบบการประเมินผลการพัฒนา 4.2 ดำเนินการประเมินผลการพัฒนารายบุคคล โดยผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ระดับ ระดับที่ 5 มีการสรุปและวางแผนการต่อยอดการพัฒนาต่อไป การวัดผลการดำเนินงาน ระดับที่ 5 - มีการสรุปและวางแผนการต่อยอดการพัฒนาต่อไป (ผลลัพธ์) ผลการดำเนินการ จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาและวางแผนการต่อยอดการพัฒนารายบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีรายละเอียดดังนี้ 5.1. จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนา เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่อไป 5.2 วางแผนการต่อยอดการพัฒนา โดยนำข้อมูลจากการพัฒนารายบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ.2564และการประเมินสมรรถนะรายบุคคลที่ดำเนินการในช่วงแรกของการดำเนินกิจกรรมมาใช้ในการจัดทำแผนต่อยอด โดยให้นักทรัพยากรบุคคลของสถาบันฯ และผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ระดับร่วมกันพิจารณาทบทวนความจำเป็นของหัวข้อวิชาในการพัฒนารายบุคคลของแผนต่อยอด และนำมาสรุปเป็นแผนพัฒนารายบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ.2565

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม ความสำเร็จของการพัฒนาข้าราชการในสังกัดสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครตามรูปแบบการเรียนรู้และพัฒนา Model 70 : 20 : 10 แบ่งความสำเร็จเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1. มีการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนารายบุคคล ระดับที่ 2. มีการกำหนดแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล ระดับที่ 3. ดำเนินการพัฒนาตามที่วางแผนไว้ ระดับที่ 4. มีการประเมินผลการพัฒนา โดยมีผลการพัฒนาที่ดีขึ้น ระดับที่ 5. มีการสรุปและวางแผนการต่อยอดการพัฒนาต่อไป ข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ การเรียนรู้และพัฒนา Model 70 : 20 : 10หมายถึง ลักษณะของการเรียนรู้และพัฒนาใน 3 รูปแบบ ดังนี้ - รูปแบบ 70 เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์(Learning from Experience) - รูปแบบ 20 เป็นการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from Others) - รูปแบบ 10 เป็นเรียนรู้จากการเข้ารับการฝึกอบรม (Formal Learning) ในห้องเรียน (Classroom Training) หรือการเรียนรู้แบบ e-learning แผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดวิธีการพัฒนาด้วยแนวคิด Model70:20:10 ตามผลการประเมินระดับความสามารถเป็นรายบุคคล

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ค่าเป้าหมาย ระดับ ๕ วิธีคำนวณ - ความสำเร็จระดับที่ 1 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 20 (2คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 40 (4คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 60 (6คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3+4 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 80 (8คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3+4+5คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 100 (10คะแนน)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน - แบบประเมินเพื่อการพัฒนาสมรรถนะเป็นรายบุคคล - แผนเพื่อพัฒนาสมรรถนะเป็นรายบุคคล - หลักฐานที่แสดงถึงการเข้ารับการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบบันทึกกิจกรรม ใบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร ฯลฯ - รายงานการสรุปผลเพื่อวางแผนการพัฒนา - ฯลฯ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง