รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการจัดเวทีสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชน : 0411-2026

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
40.00

0 / 0
3
60.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณฯ เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

28/02/2566 : อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณฯ เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ 31/03/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ 1. จัดเวทีสาธารณะ ทางสื่อออนไลน์ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เรื่อง คุณมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ กทม. บริหารจัดการปัญหาฝุ่น P.M. 2.5 อย่างไรทงเฟซบุ๊คกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 เรื่อง แนวทางเพิ่มการจัดเวทีสาธารณะทาง FB : Happy BKK และ TikTok : prbangkok และอยู่ระหว่างสรุปรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

30/04/2566 : อยู่ระหว่างการ 1. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ 2. เตรียมจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ 31/05/2566 : อยู่ระหว่างการ 1. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ 2. เตรียมจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ 30/06/2566 : อยู่ระหว่าเตรียมจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการได้ตามแผนฯ ร้อยละ 100 ดังนี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์ดำเนินการได้ครบทุกขั้นตอนตามแผนฯ ดังนี้ 1. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ ที่แสดงถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนา กรุงเทพมหานคร และได้รับความเห็นชอบตามหนังสือสำนักงานประชาสัมพันธ์ ที่ กท. 0408/3009 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 2. ติดตาม และวิเคราะห์ประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานครเพื่อกำหนดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชน 3. จัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ ที่แสดงถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้ง - ครั้งที่ 1 สนทนางานเมือง ระหว่างวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2566 ประเด็น “สิ่งแวดล้อมดี” ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (โรงงานผลิตยาสูบ 5) สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย - ครั้งที่ 2 “หน้าบ้าน ริมคลอง น่ามอง น่าอยู่” เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ประเด็น “แลกเปลี่ยนประสบการณ์ คนบ้านริมคลองเปรมฯ ณ ชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร 4. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานคร 5. สรุปผลการประเมินทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานครผ่านกิจกรรม/รายการ ที่จัดขึ้น 5.1 ครั้งที่ 1 ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 82.75 เห็นด้วยและคิดว่าการจัดกิจกรรมมีประโยชน์และสร้างความเข้าใจระหว่างกรุงเทพมหานครกับประชาชนได้เป็นอย่างดี 5.2 1 ครั้งที่ 2 ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 81.40 เห็นด้วยและคิดว่าการจัดกิจกรรมมีประโยชน์และสร้างความเข้าใจระหว่างกรุงเทพมหานครกับประชาชนได้เป็นอย่างดี 6. สรุปความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะฯ ที่จัดขึ้น 6.1 ครั้งที่ 1 ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 82.40 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเปิดเวทีสาธารณะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 6.2 ครั้งที่ 2 ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 82.10 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเปิดเวทีสาธารณะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 7. รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การจัดเวทีสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชน หมายถึง การจัดกิจกรรมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและแสดง ความคิดเห็นต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานครผ่านเวที/กิจกรรมที่กรุงเทพมหานครจัดขึ้น รายการ/กิจกรรม หมายถึง ลักษณะการจัดกิจกรรมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การเสวนา การเปิดพื้นที่ให้ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งทางออนไลน์และ/หรือสื่อมวลชน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

คำนวณจากจำนวนการจัดรายการ/กิจกรรม

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1) สรุปผลการจัดเวทีเสวนาให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนา กรุงเทพมหานครทั้งทางออนไลน์และ/หรือสื่อมวลชน 2) สรุปผลการติดตามทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นการสื่อสารสาธารณะและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานครผ่านกิจกรรม/รายการที่จัดขึ้น 3) สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับประชาชนในช่องทางต่าง ๆ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๕ - มหานครประชาธิปไตย : Bangkok as a Democratic City
:๕.๒ - เมืองธรรมาภิบาล
:๕.๒.๑ ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและตรวจสอบการทำางานของกรุงเทพมหานคร โดยการใช้ระบบง%
:๕.๒.๑.๑ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่าน “สภาประชาชนกรุงเทพมหานคร”

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง