รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการรณรงค์สร้างจิตสำนึกโปร่งใส สะอาด ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม : 0411-2029

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00
100
100 / 100
2
30.00

0 / 0
3
70.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

จัดทำแผนประชาสัมพันธ์รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน และสิ่งแวดล้อม และเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติแผนฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

28/02/2566 : 1. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน และสิ่งแวดล้อม และเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติแผนฯ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 และได้รับการอนุมัติแผนฯ แล้วเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 โดยรองปลัดกรุงเทพมหานคร (นายเฉลิมพล โชตินุชิต) ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร 2. เวียนแจ้งแผนประชาสัมพันธ์รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน และสิ่งแวดล้อม ไปยังผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. และผู้อำนวยการเขต ผ่านทางเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 3. ดำเนินการชี้แจงแนวทางการดำเนินการตามแผนฯ ให้หน่วยงานรีบทราบในการประชุมแนวดิ่งด้านการประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 และอยู่ระหว่างรวบรวมรายงานผลการจัดกิจกรรมรณรงค์ของหน่วยงานผ่านระบบ Google From 4. อยู่ระหว่างการผลิตและเผยแพร่สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตามแผนฯ 5. อยู่ระหว่างการเตรียมจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตามแผนฯ 31/03/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ 1. ผลิตและเผยแพร่สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตามแผนฯ 2. เตรียมจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตามแผนฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

30/04/2566 : ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้ 1. ดำเนินการเผยแพร่สื่อรณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน และสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Infographic และคลิปประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 89 ครั้ง มียอดผู้เข้าถึงรวมทั้งหมด 718,274 คน 2. จัดกิจกรรมให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น "ชาว กทม.คิดเห็นอย่างไรกันบ้างกับนโยบายการสร้างเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนใน 9 มิติ หรือกรุงเทพฯ 9 ดี? และชาว กทม.พึงพอใจต่อการดำเนินงานด้านความโปร่งใสแค่ไหน?" ทาง Facebook Fanpage กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 โดยมียอดการเข้าถึง 6,954 คน กดถูกใจ 115 คน แชร์ 21 ครั้ง แสดงความคิดเห็น 17 ความคิดเห็น 3. จัดกิจกรรมให้ประชาชนร่วมสนุกตอบคำถาม “รู้ทันปัญหาฝุ่น PM 2.5” ทาง Facebook Fanpage กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 โดยมียอดการเข้าถึง 15,373 คน กดถูกใจ 384 คน แชร์ 118 ครั้ง แสดงความคิดเห็น 129 ความคิดเห็น 31/05/2566 : ดำเนินการเผยแพร่สื่อรณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน และสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Infographic และคลิปประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 22 ครั้ง มียอดผู้เข้าถึงรวมทั้งหมด 990,325 คน 30/06/2566 : ดำเนินการเผยแพร่สื่อรณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน และสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Infographic และคลิปประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 30 ครั้ง มียอดผู้เข้าถึงรวมทั้งหมด 1,104,325 คน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักงานประชาสัมพันธ์ดำเนินการได้ครบทุกขั้นตอนตามแผนฯ ดังนี้ 1. จัดทำแผนการรณรงค์สร้างจิตสำนึก โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน รักษาสิทธิร่วมกัน และความมีวินัยของพลเมือง เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ และได้รับความเห็นชอบตามหนังสือสำนักงานประชาสัมพันธ์ ที่ กท. 0408/3009 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 2. มีการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ผลิตและเผยแพร่สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การสร้างจิตสำนึก โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ทางสื่อออนไลน์ รวมถึงการสื่อสารภายในองค์กร รวมทั้งสิ้นจำนวน 409 ครั้ง 4. จัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมจำนวน 3 ครั้ง - จัดกิจกรรมให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “ชาว กทม. คิดเห็นอย่างไรกันบ้างกับนโยบายการสร้างเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนใน 9 มิติ หรือกรุงเทพฯ 9 ดี? และชาว กทม. พึงพอใจต่อการดำเนินงานด้านความโปร่งใสแค่ไหน?” ทาง Facebook Fanpage กรุงเทพมหานคร โดยมียอดการเข้าถึง 6,954 คน กดถูกใจ 115 คน แชร์ 21 ครั้ง แสดงความคิดเห็น 17 ความคิดเห็น - จัดกิจกรรมให้ประชาชนร่วมสนุกตอบคำถาม “รู้ทันปัญหาฝุ่น PM 2.5” ทาง Facebook Fanpage กรุงเทพมหานคร โดยมียอดการเข้าถึง 15,373 คน กดถูกใจ 384 คน แชร์ 118 ครั้ง แสดงความคิดเห็น 129 ความคิดเห็น - จัดกิจกรรม “ยุวชนสายตรวจคลองเปรมประชากร” ร่วมกับสำนักนายกรัฐมรตรี สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ SCG ThaiBev และสำนักงานเขตจตุจักร ณ ชุมชนประชาร่วมใจ 2 เขตจตุจักร เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 5. ประชาชนร้อยละ 84.80 มีความพึงพอใจต่อการรณรงค์สร้างจิตสำนึก โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ที่เผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อ ต่าง ๆ ของสำนักงานประชาสัมพันธ์ 6. รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

วินัยพลเมือง หมายถึง จิตสำนึกส่วนรวมในการอยู่ร่วมกัน รักษาสิทธิร่วมกัน และวินัยของพลเมือง ทั้งด้านจราจร ความสะอาด ความโปร่งใส และสิ่งแวดล้อม เช่น การรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมเมือง การแยกขยะ การเคารพกฎจราจร ความโปร่งใสและสิทธิในการตรวจสอบ มีความตระหนักถึงความรับผิดชอบตอ สวนรวมมากกวาสวนตัว และอยูรวมกันอยางสันติภาพ สันติสุข มีอิสระที่กระทําใด ๆ ภายใตขอบเขตกฎหมายโดยไมลวงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผูอื่น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

คำนวณจากระดับความสำเร็จของการการรณรงค์สร้างจิตสำนึก โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1) แผนประชาสัมพันธ์การรณรงค์วินัยพลเมืองของกรุงเทพมหานคร 2) จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชั่น และสิ่งแวดล้อมทางสื่อออนไลน์ และการสื่อสารภายในองค์กรตามแผนที่กำหนด 3) สรุปผลการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 กิจกรรม 4) ผลสำรวจการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนต่อรูปแบบและชุดข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ในช่องทางที่ตอบสนองต่อรสนิยมการบริโภคสื่อของคนเมือง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๕ - มหานครประชาธิปไตย : Bangkok as a Democratic City
:๕.๔ - การเมืองสีขาว
:๕.๔.๑ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในข้าราชการและผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองของกรุงเทพมหานคร%
:๕.๔.๑.๑ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในหน่วยงานและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง