ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99.99
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2:
อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลจากกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ได้มีการให้ความรู้ ความเข้าใจการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศหรือแจกหน้ากากป้องกัน PM 2.5 หรือ N 95 ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ให้กับ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ - โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรมฟื้นฟู ได้รับการเฝ้าระวังผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ จำนวน 34,925 ราย - ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ทั้งหมด จำนวน 41,966 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.22
-โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ได้มีการให้ความรู้ ความเข้าใจการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศหรือแจกหน้ากากป้องกัน PM 2.5 หรือ N 95 ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ให้กับ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ - โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรมฟื้นฟู ได้รับการเฝ้าระวังผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ จำนวน 81,794 ราย - ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ทั้งหมด จำนวน 81,996 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.75
-การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ ที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศ และการแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการบริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มารับบริการ ณ คลินิกมลพิษทางอากาศ และคลินิกอาชีวเวชกรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) รณรงค์แจกเอกสารประชาสัมพันธ์ พร้อมแจกหน้ากากอนามัย ลงพื้นที่ให้ความรู้ คำแนะนำ การปฏิบัติตนในสถาการณ์มลพิษทางอากาศร่วมกับภาคีเครือข่ายของโรงพยาบาล โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 91,706 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 91,706 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2. โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้รับบริการ ณ คลินิกสมรรถภาพปอด ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) แจกหน้ากากอนามัย ที่ห้องตรวจต่างๆ และมอบหมายให้กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม หน่วยควบคุมโรค ติดเชื้อ กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชนลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันและรณรงค์ลดปัญหาทางสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) รวมทั้งหน่วยราชการใกล้เคียงโรงพยาบาลตากสิน ส่งหน่วยแพทย์อนามัยชุมชนลงพื้นที่เยี่ยมบ้านพร้อมให้ความรู้แจกหน้ากากอนามัย โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 2,122 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 2,122 คน คิดเป็นร้อยละ 100 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มารับบริการ ณ คลินิกโรคทางเดินหายใจ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศ แจกแผ่นผับให้ความรู้พร้อมแจกหน้ากากอนามัย รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศประจำวันผ่าน Line Aquare CKP Hospital และประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงพยาบาล โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 52,546 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 52,546 คน คิดเป็นร้อยละ 100 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ดำเนินการให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มารับบริการ ณ คลินิกโรคหอบหืด จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและญาติที่มารับบริการ เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) ได้อย่างถูกต้อง จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การป้องกันตนเองจาก ฝุ่นละออง PM 2.5 มีการแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)กรณีการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ (Asthma) ระดับโรงพยาบาล โดยมีทีมสหวิชาชีพอย่างน้อย 3 สาขา ใน 5 สาขา ร่วมกันให้บริการ ณ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลเภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ในการดูแลรักษาติดตามผู้ป่วยโรคหอบหืด โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 794 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 784 คน คิดเป็นร้อยละ 98.74 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้รับบริการ ณ คลินิกทางเดินหายใจ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) พร้อมแจกหน้ากากอนามัย แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 493 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 493 คน คิดเป็นร้อยละ 100 6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มารับบริการ ณ คลินิกโรคทางเดินหายใจ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) ในผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 769 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 769 คน คิดเป็นร้อยละ 100 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มารับบริการ ณ คลินิกทางเดินหายใจ และทุกแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ในเวลา 08.00 น. ประชาสัมพันธ์แจกแผ่นพับให้ความรู้ การแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ วิธีการใช้หน้ากากอนามัยแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้เข้ารับบริการ โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 963 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจ ที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 963 คน คิดเป็นร้อยละ 100 8. โรงพยาบาลสิรินธร ให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้รับบริการ ณ คลินิกโรคทางเดินหายใจ จัดอบรมบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถประเมินผู้ป่วยจากการสัมผัสมลพิษและทำการซักประวัติได้อย่างถูกต้อง จัดกิจกรรมให้ความรู้ แจกเอกสารแผ่นพับ คำแนะนำการใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นในกลุ่มเสี่ยง โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 906 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 906 คน คิดเป็นร้อยละ 100 9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ให้บริการประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มารับบริการณ การแจกหน้ากากอนามัย ณ คลินิกอายุรกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศ มีโดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 5,903 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 5,903 คน คิดเป็นร้อยละ 100 10. โรงพยาบาลคลองสามวา ให้บริการประชากรกลุ่มเสี่ยงในคลินิกระบบทางเดินหายใจ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ อาทิ การแจกหน้ากากอนามัยป้อง PM 2.5 หรือ N 95 หรือประชาสัมพันธ์สื่อทาง Website Facebook โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 566 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 567 คน คิดเป็นร้อยละ 99.82 11. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร ให้บริการประชากรกลุ่มเสี่ยงแลประชาชนทั่วไป โดยการจัดมุมให้ความรู้ แจกแผ่นพับ และปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันมลพิษทางอากาศ ภายในโรงพยาบาล ประสานสำนักงานเขตบางนาในการประชาสัมพันธ์และบรรยายส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 574 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 574 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ จำนวน 157,343 คน และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจที่ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 157,332 คน คิดเป็นร้อยละ 99.99
กลุ่มเสี่ยง หมายถึง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ การเฝ้าระวัง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศหรือแจกหน้ากากป้องกัน PM 2.5 หรือ N 95 ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงในคลินิกโรคทางเดินหายใจได้รับการเฝ้าระวังผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ หารด้วย จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจทั้งหมด คูณด้วย 100
-
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
:๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ% |
:๑.๑.๓.๒ ปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ |