รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล : 0700-0812

ค่าเป้าหมาย ขั้นตอน : 5

ผลงานที่ทำได้ ขั้นตอน : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ขั้นตอน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
3.00
100
100 / 100
3
5.00
0
0 / 0
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ขั้นตอนที่ 1 สำนักการแพทย์ทบทวนสถานะข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเป็นฐานข้อม฿ล หรือฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากนโยบาย แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร มาตรฐานบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร ขั้นตอนที่ 2 สำนักการแพทย์นำข้อมูลตามขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็นตามภารกิจหลักมาจัดลำดับความสำคัญและพิจารณาคัดเลือกภารกิจหลัก ที่จะดำเนินการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล จำนวน 1 ฐานข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 สำนักการแพทย์ได้จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามบันทึกที่ กท 0602/2463 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง ส่งแบบทบทวนสถานะข้อมูล และแผนพัฒนาฐานข้อมูลตามตัวชี้วัด 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน สำนักกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ขั้นตอนที่ 4 สำนักการแพทย์ดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล ซี่งสามารถเชื่อมโยงระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานครที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด จำนวน 20 ตัวชี้วัด และได้แจ้งผลการนำเข้าข้อมูลประกอบตัวชี้วัดฯ ไปยังสยป. ตามบันทึกที่ กท 0602/5817 ลงวันที่ 21 พ.ค.63 เรื่องแจ้งการดำเนินการนำเข้าข้อมูลประกอบตัวชี้วัดตามตัวชี้วัดที่ 4.1 ขั้นตอนที่5 สำนักการแพทย์ได้นำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลตามขั้นตอนที่ 4 โดยเริ่มนำเข้าข้อมูลครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่าง สยป ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-คำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน : ตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตัวชี้วัด 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล ไว้ในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และตามหนังสือสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ด่วนที่สุด ที่ กท 0502/230 ลงวันที่ 29 มกราคม 2563 โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งสำนักการแพทย์ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 - 2 ทบทวนสถานะข้อมูลปัจจุบัน โดยพิจารณาจากบัญชีตัวชี้วัดระดับเมือง และจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของสำนักการแพทย์ ประกอบด้วย 21 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1.1 ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 1.2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ 1.3 ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ 1.4 อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke 1.5 อัตราการตายของผู้ป่วยโรคความความดันโลหิตสูงด้วย Intracerebral Hemorrhage หรือ Hemorrhagic Stroke 1.6 จำนวนคลินิกผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ” 1.7 ร้อยละของความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ 1.8 ร้อยละของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ได้รับการคัดกรองสุขภาพหรือตรวจสุขภาพประจำปี 1.9 สตรีในช่วงอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 1.10 สตรีในช่วงอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 1.11 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี 1.12 อัตราป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (ไข้หวัดใหญ่) 1.13 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือค่า BMI ลดลงจากเดิม 1.14 ร้อยละของความสำเร็จในการผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล (Re - Accreditaion) 1.15 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับสูง และระดับตติยภูมิระดับสูง 1.16 ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร 1.17 ร้อยละของชาว กทม. มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 1.18 ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 1.19 ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับศูนย์บริการสาธารณสุข 1.20 ร้อยละของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advance) /ขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถรับบริการตามเวลาที่กำหนด (10 นาที และ 15 นาที ตามลำดับ) 1.21 ร้อยละผลงานวิจัย/Innovation/R2R ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 3 จัดทำแผนพัฒนาข้อมูล ตามแบบฟอร์ม สยป.4.1 (1) และแบบฟอร์ม สยป.4.1 (3) และส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/2463 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาฐานข้อมูลตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับการพัฒนาฐานข้อมูลฯ ซึ่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้แจ้งตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กท 0502/787 ลงวันที่ 28 เมษายน 2563 โดยสำนักการแพทย์ได้ดำเนินการดังนี้ 4.1 จัดส่งเอกสารข้อมูลประกอบตัวชี้วัดฯ ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/5147 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 โดยสำนักการแพทย์ได้ตัดตัวชี้วัดข้อ 1.17 ร้อยละของชาว กทม. มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากตัวชี้วัดดังกล่าวไม่ถือเป็นตัวชี้วัดของสำนักการแพทย์ เป็นเพียงผู้สนับสนุนข้อมูลแก่เจ้าภาพหลักเท่านั้น 4.2 ศึกษาวิธีการนำเข้าข้อมูลในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 ทางเว็บไซต์ http://monitor.bangkok.go.th : 8080/bma4.1/index.php ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านโปรแกรม Microsoft Team 4.3 แจ้งผลการดำเนินการตามข้อ 4.1 โดยแนบเอกสารการบันทึกข้อมูลประกอบตัวชี้วัดเมืองทุกรายการ ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/5817 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ขั้นตอนที่ 5 นำเข้าข้อมูลในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 ดังนี้ 5.1 ข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงเป็นรายปี ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อ 1.1 – 1.18 และข้อ 1.20 ดำเนินการนำเข้าข้อมูลภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 5.2 ข้อมูลที่การเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือน ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อ 1.19 ดำเนินการนำเข้าข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2563

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง