ค่าเป้าหมาย คะแนน : 100
ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
สำนักการแพทย์ได้คัดเลือกครงการจัดบริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile Lab) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ และอยู่ระหว่างจัดทำโครงการจัดบริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile Lab) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ แก่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 8 แห่ง (รพก.-รพส.)
สำนักการแพทย์เสนอ “การบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ (New normal) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์” เป็นโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักการแพทย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สำนักงาน ก.ก. หลังจากได้รับการประสานแจ้งผลการพิจารณาตามมติของคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรม กทม.
มีการใช้ระบบการบริการแบบ New normal โดยมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พ.ค.2564 ดังนี้ 1) การให้บริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) จำนวน 928 ครั้ง 2) การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 6,745 คน 6,749 ครั้ง 3) การรับยาทางไปรษณีย์ จำนวน 4,651 ครั้ง 4) การับยาผ่านระบบ Drive thru จำนวน 360 ครั้ง 5) การรับยาร้านขายยา จำนวน 1 คน
โครงการบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ (New normal) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เป็นนวัตกรรมให้บริการ (Service Innovation) โดยการนำระบบการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) กรณีผู้ป่วยมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติปกติ และแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถรับบริการด้วยระบบดังกล่าวได้ จนถึงพัฒนากระบวนการจ่ายยารูปแบบใหม่ ได้แก่ การรับยา ณ ห้องจ่ายยาโรงพยาบาล การจัดส่งยาทางบริษัทไปรษณีย์ การรับยาผ่าน Drive Thru และการรับยาผ่านร้านขายยาคุณภาพใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสทางการรักษา และเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมโดยไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นับเป็นรูปแบบการให้บริการทางการแพทย์แบบใหม่ (New normal) แก่ประชาชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ ตั้งแต่การเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) และการจ่ายยารูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชนที่เหมาะสมต่อไป ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัดที่วัดความสำเร็จของโครงการ 1. มีระบบการให้บริการแบบ New normal (เป้าหมาย 1 ระบบ) ผลการดำเนินงาน 1 ระบบ 2. มีการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 30 วัน (เป้าหมาย 5 เดือน) โดยสรุปผลการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 สิงหาคม 2564 ดังนี้ 1. เจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) จำนวน 4,032 ครั้ง 2. รักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 30,952 ครั้ง 3. รับยาทางไปรษณีย์ จำนวน 24,875 ครั้ง 4. รับยาผ่านระบบ Drive thru จำนวน 4,151 ครั้ง 5. รับยาร้านขายยา จำนวน 5 คน
ตามที่สำนักงาน กก กำหนด
ตามที่สำนักงาน กก กำหนด
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ% |
:๑.๖.๓.๑ พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ |