รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ : 0700-837

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
0
0 / 0
3
80.00
0
0 / 0
4
100.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างจัดประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาการพัฒนาหรือปรับปรุงฐานข้อมูล ตามแนวทางที่ สยป. กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักการแพทย์ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เรื่องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ตามบันทึกที่ กท 0602/6064 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ ตามหนังสือสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ด่วนที่สุด ที่ กท 0510/2149 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ 5 ขั้นตอน ซึ่งสำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 1.1 การแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงาน สำนักการแพทย์พิจารณาใช้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสารสนเทศ สำนักการแพทย์ แทนการแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว เพื่อลดความซ้ำซ้อน เนื่องจากมีบุคลากรที่เป็นคณะทำงานชุดเดียวกัน 1.2 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสารสนเทศ สำนักการแพทย์ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น โดยที่ประชุมมีมติให้นำข้อมูล จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำแนกรายเขต เพศ และอายุ มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน 1.3 ดำเนินการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) และแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน 1.4 ส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 1 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/13860 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 1) ขั้นตอนที่ 2 สำนักการแพทย์ดำเนินการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 2 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/3078 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 2) ขั้นตอนที่ 3 สำนักการแพทย์ ดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีคุณภาพและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จำแนกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 14 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง (2) อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke (3) อัตราการตายของผู้ป่วยโรคความความดันโลหิตสูงด้วย Intracerebral Hemorrhage หรือ Hemorrhagic Stroke (4) จำนวนคลินิกผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ” (5) ร้อยละของความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ (6) อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี (7) ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือค่า BMI ลดลงจากเดิม (8) ร้อยละของความสำเร็จในการผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล (Re - Accreditaion) (9) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับสูง และระดับ ตติยภูมิระดับสูง (10) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร (11) ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ (12) ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับศูนย์บริการสาธารณสุข (13) ร้อยละของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advance) /ขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถรับบริการตามเวลาที่กำหนด (10 นาที และ 15 นาที ตามลำดับ) (14) ร้อยละผลงานวิจัย/Innovation/R2R ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 2 นำเข้าฐานข้อมูลใหม่ในระบบ ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำแนกรายเขต เพศ และอายุ (รายไตรมาส) ขั้นตอนที่ 4 สำนักการแพทย์ มีการนำข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักการแพทย์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2564 – 2567) และส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 4 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ที่ กท 0602/6064 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 4) ขั้นตอนที่ 5 สำนักการแพทย์ ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ต่อสาธารณะ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการแพทย์ ที่ URL : http://www.msdbangkok.go.th/home.html หัวข้อ บริการข้อมูลทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ และเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 5 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/8203 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 5)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ตามที่สยป กำหนด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ตามที่สยป กำหนด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง