รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและบริหารจัดการ (ผลลัพธ์) : 0800-0774

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
99.00
100
100 / 100
2
100.00
100
100 / 100
3
94.00
100
100 / 100
4
96.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ หมายถึงระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 1 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560) ซึ่งมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการต้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ทั้งหมด เป็นจำนวน 64 วันๆ ละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นระยะเวลา 512 ชั่วโมง โดยได้สอบถามจากผู้พัฒนาระบบพบว่าศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 1 แห่ง เกิดเหตุขัดข้องในการใช้งานระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุข ระยะเวลา 2 ชั่วโมง ทำให้ทราบได้ว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานได้ตามปกติ คิดเป็นระยะเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 510 ชั่วโมง ดังนั้น ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 99

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ หมายถึงระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 2 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2561) ซึ่งมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการต้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ทั้งหมด เป็นจำนวน 62 วันๆ ละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นระยะเวลา 496 ชั่วโมง โดยได้สอบถามจากผู้พัฒนา ระบบพบว่าไม่เกิดเหตุขัดข้องในการใช้งานระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุข ทำให้ทราบได้ว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานได้ตามปกติ คิดเป็นระยะเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 496 ชั่วโมง ดังนั้น ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ หมายถึงระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 3 (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2561) ซึ่งมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศ ศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการต้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการทั้งหมด เป็นจำนวน 69 วันๆ ละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นระยะเวลา 552 ชั่วโมง โดยได้สอบถามจากผู้พัฒนาระบบพบว่าเกิดเหตุขัดข้องในการใช้งานระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขอันมีสาเหตุจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข จำนวน 4 วัน รวมเป็น 32 ชั่วโมง ทำให้ทราบได้ว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงาน ได้ตามปกติ คิดเป็นระยะเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 520 ชั่วโมง ดังนั้น ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 94

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ หมายถึงระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่สามารถ ปฏิบัติงานได้ตามปกติ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 4 (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2561) ซึ่งมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศ ศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการต้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ทั้งหมด เป็นจำนวน 65 วันๆ ละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นระยะเวลา 520 ชั่วโมง โดยได้สอบถามจากผู้พัฒนา ระบบพบว่าเกิดเหตุขัดข้องในการใช้งานระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขอันมีสาเหตุจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายของสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข จำนวน 5 วัน รวมเป็น 40 ชั่วโมง ทำให้ทราบได้ว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงาน ได้ตามปกติ คิดเป็นระยะเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 480 ชั่วโมง ดังนั้น ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการ ในไตรมาสที่ 4 (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2561) คิดเป็นร้อยละ 96

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการและการบริหารจัดการ หน่วยบริการ หมายถึง หน่วยบริการของสำนักอนามัยที่สามารถปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขได้ ประกอบด้วย 1. ศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง 2. ศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา 76 แห่ง 3. หน่วยบริการทางการแพทย์ 2 แห่ง ได้แก่ หน่วยบริการ กทม.1 และ กทม. 2 4. คลินิกสัตวแพทย์ 9 แห่ง ได้แก่ - คลินิกสัตวแพทย์ในศูนย์บริการสาธารณสุข 6 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 21,23,24,29,32 และ 33 - คลินิกในสังกัดสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข 2 แห่ง คือ คลินิกสัตวแพทย์กรุงเทพมหานคร 7 บางกอกน้อย และคลินิกสัตวแพทย์ ดินแดง - สถานพักพิงสุนัขประเวศ 5. สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข 1 แห่ง รวมทั้งหมด 156 แห่ง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ พิจารณาจากระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานได้ตามปกติ และระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการต้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการทั้งหมด โดยคำนวณจาก ระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานได้ตามปกติ หารด้วย ระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการต้องสนับสนุนการปฏิบัติงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการทั้งหมด คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล: เอกสารแจ้งซ่อมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (CM) ของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุข

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง