รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของชุมชนที่มีความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ผลลัพธ์) : 0800-6596

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 65

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 82.9

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
95
95 / 100
2
76.54
0
0 / 0
3
76.54
0
0 / 0
4
82.90
95
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างประมวลผลข้อมูลในระบบ NISPA

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จำนวนชุมชนจดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2564 ทั้งหมด 2,012 ชุมชน มีชุมชนที่มีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 6 ใน 10 ข้อ ตามเกณฑ์การประเมินของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,540 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 76.54 (ข้อมูลจากการประเมินฯ ปีการประเมิน พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

จำนวนชุมชนจดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2564 จำนวน 2,012 ชุมชน ชุมชนที่มีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 6 ใน 10 ข้อ ตามเกณฑ์การประเมินของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,540 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 76.54 (ข้อมูลจากการประเมินฯ ปีการประเมิน พ.ศ.2564 ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564) ซึ่งอยู่ระหว่างประมวลข้อมูลในระบบ NISPA (ครั้งที่ 2 เมษายน - สิงหาคม 2564)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

จำนวนชุมชนจดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2564 จำนวน 2,012 ชุมชน ชุมชนที่มีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 6 ใน 10 ข้อ ตามเกณฑ์การประเมินของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,668 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 82.90 (ข้อมูลจากการประเมินฯ ปีการประเมิน พ.ศ.2564 ครั้งที่ 2 เมษายน - กันยายน 2564)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ชุมชนที่มีความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หมายถึง ชุมชนมีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 ใน 10 ข้อ ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์การประเมินดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนระดับประเทศ ได้แก่ 1. มีกลุ่มดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน เช่น คณะกรรมการชุมชน 2. กลุ่มดำเนินการมีการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 3. มีข้อตกลง/กติการ่วมกันเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และมีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เช่น ธรรมนูญหมู่บ้าน ประกาศชุมชน มาตรการชุมชน/สังคม เป็นต้น 4. มีกองทุนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทันหมู่บ้าน/ชุมชน หรือขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร องค์กรเอกชน (NGOs)เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 5. มีการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 6. มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อสร้างการรับรู้แนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และติดตามการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ร่วมกันทั้งภาครัฐและประชาชน 7.มีการค้นหา นำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาฟื้นฟูหรือดูแลฟื้นฟูโดยชุมชน 8. มีการติดตามผลและให้ความช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน เช่น การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการศึกษา การให้คำปรึกษาแนะนำ การเยี่ยมบ้าน เป็นต้น 9. มีการเฝ้าระวัง ควบคุมดูแลไม่ให้มีพื้นที่เสี่ยงในชุมชน 10. มีการจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การรณรงค์ การให้ความรู้ เสียงตามสาย เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

(จำนวนชุมชนที่มีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามเกณฑ์ของกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 6 ข้อ x 100)/ชุมชนจดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
:๑.๒.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพติดทุกคนเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูที่มีมา%
:๑.๒.๒.๑ เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังยาเสพติด

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง