ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 10
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 10
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2:
ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 1.1 แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ตามคำสั่งสำนักอนามัยที่ 2413/2563 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ซึ่งคณะทำงานฯ ได้จัดประชุมคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เพื่อพิจารณาแผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักอนามัย บัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) บัญชีรายการข้อมูลที่ต้องดำเนินการทบทวนสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงาน และพิจารณาตารางข้อมูลตามสถาปัตยกรรมองค์กรกรุงเทพมหานครในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1.2 จัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของสำนักอนามัย จัดทำบัญชีรายการข้อมูล และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของสำนักอนามัย 1.3 ข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงตารางข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยคณะทำงานฯ ได้พิจารณาคัดเลือกตารางข้อมูลร้อยละผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้สูงอายุตามที่ต้องการ เพื่อนำมาดำเนินการเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งนี้ได้จัดส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563
ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 1.1 แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ตามคำสั่งสำนักอนามัยที่ 2413/2563 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ซึ่งคณะทำงานฯ ได้จัดประชุมคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เพื่อพิจารณาแผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักอนามัย บัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) บัญชีรายการข้อมูลที่ต้องดำเนินการทบทวนสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงาน และพิจารณาตารางข้อมูลตามสถาปัตยกรรมองค์กรกรุงเทพมหานครในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1.2 จัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของสำนักอนามัย จัดทำบัญชีรายการข้อมูล และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของสำนักอนามัย 1.3 ข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงตารางข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยคณะทำงานฯ ได้พิจารณาคัดเลือกตารางข้อมูลร้อยละผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้สูงอายุตามที่ต้องการ เพื่อนำมาดำเนินการเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งนี้ได้จัดส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563
สำนักอนามัยมีตารางข้อมูลตัวชี้วัดในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 5.2 ทั้งสิ้น จำนวน 60 ตารางข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ตารางข้อมูล จำนวน 48 ตารางข้อมูล ตารางกลางในการเชื่อมโยงข้อมูล จำนวน 2 ตารางข้อมูล และตารางเดิมที่ไม่นำมาใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 10 ตารางข้อมูล ซึ่งทำให้สำนักอนามัยมีตารางข้อมูลปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 50 ตารางข้อมูล โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้ว รายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงาน พร้อมจัดประชุมคณะทำงานฯ จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูล จัดทำบัญชีรายการข้อมูล และส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลและพจนานุกรมข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 5.2 และส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2 ให้กับ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการนำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลให้มีคุณภาพเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564) ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการประชุมเพื่อหารือและติดตามการดำเนินงานกับกองการพยาบาลสาธารณสุข ในฐานะผู้รับผิดชอบชุดข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงานแล้ว เพื่อรวบรวมข้อมูลนำส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลต่อไป (ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ขั้นตอนที่ 1 โดยแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ตามคำสั่งสำนักอนามัยที่ 2413/2563 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ซึ่งคณะทำงานฯ ได้จัดประชุมคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักอนามัย ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เพื่อพิจารณาและดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักอนามัย จัดทำบัญชีรายการข้อมูล และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของสำนักอนามัย รวมทั้งพิจารณาบัญชีรายการข้อมูลที่ต้องดำเนินการทบทวนสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงาน และพิจารณาตารางข้อมูลตามสถาปัตยกรรมองค์กรกรุงเทพมหานครในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ในส่วนของสำนักอนามัยมีจำนวนตารางข้อมูลรวมทั้งสิ้น 50 ตารางข้อมูล และได้พิจารณาคัดเลือกตารางข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงตารางข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น โดยคณะทำงานฯ ได้พิจารณาคัดเลือกตารางข้อมูลร้อยละผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้สูงอายุตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาจัดเป็นชุดข้อมูลใหม่ได้เป็นชุดข้อมูลผู้ดูแลผู้สูงอายุฯ เพื่อนำมาดำเนินการเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน และได้ส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ขั้นตอนที่ 2 โดยสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขได้จัดประชุมกับผู้แทนของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เพื่อดำเนินการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และจัดทำพจนานุกรม (Data Dictionary) ของสำนักอนามัย และได้ดำเนินการนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 5.2 (URL : http://one.bangkok.go.th/bma5.2/) พร้อมทั้งได้ส่งรายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ 2 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการนำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลให้มีคุณภาพเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564) ซึ่งได้ดำเนินการถึงเดือนกันยายน 2564 แล้ว ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขได้จัดประชุมกับผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นผู้รับผิดชอบชุดข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 4 เพื่อรวบรวมข้อมูลนำส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลต่อไป ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำและส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขได้ดำเนินการเผยแพร่ชุดข้อมูลผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้สูงอายุตามที่ต้องการของกองการพยาบาลสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบชุดข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงานผ่านระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ http://data.bangkok.go.th และได้ดำเนินการส่งรายงานการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564
ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
พิจารณาจากผลการดำเนินงานตามขั้นตอนโดย - ขั้นตอนที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงาน และจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน จัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลหน่วยงาน และพัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน เมื่อดำเนินการสำเร็จในขั้นตอนที่ 1 จะได้รับคะแนนร้อยละ 20 - ขั้นตอนที่ 2 จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)และจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) เมื่อดำเนินการสำเร็จในขั้นตอนที่ 2จะได้รับคะแนนร้อยละ 20 - ขั้นตอนที่ 3 ปรับปรุงข้อมูลให้มีคุณภาพและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่อดำเนินการสำเร็จในขั้นตอนที่ 3 จะได้รับคะแนนร้อยละ 20 - ขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อดำเนินการสำเร็จในขั้นตอนที่ 4 จะได้รับคะแนนร้อยละ 20 - ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ เมื่อดำเนินการสำเร็จในขั้นตอนที่ 5 จะได้รับคะแนนร้อยละ 20 การคำนวณคะแนนตามกรอบการประเมิน น้ำหนักคะแนนของตัวชี้วัด คูณด้วย คะแนนที่ได้รับจากผลการดำเนินงานตามขั้นตอน หารด้วย 100
1. รักษาสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดําเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตรวจสอบ การนําเข้าข้อมูล ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ข้อมูลเป็นปัจจุบันในระบบเดิมที่ดําเนินการในปีที่ผ่านมาตามที่กําหนดในแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานตามที่ได้ตกลงกับคณะกรรมการกํากับฐานข้อมูลที่สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผลกําหนด 2. การพัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสําคัญต้อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการตรวจสอบจากแบบรายงานที่กําหนด และฐานข้อมูลที่หน้วยงานพัฒนาขึ้น 3. รายงานผลการดําเนินการตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ซึ่งหน่วยงานรายงานความก้าวหน้าของตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนดําเนินการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการประจําปี ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และ BMA Monitor Application ต้องรายงานข้อมูลผลการดําเนินงานผ่านระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) ให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน อย่างสม่ำเสมอตามรอบระยะเวลาที่สํานักยุทธศาสตร์ และประเมินผลกําหนด
:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |