รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อน เชื้อโรค : 0800-6739

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 96

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
85.17

0 / 0
3
92.86

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในระบบทางเดินอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli , Staphylococcus aureus ,Salmonella spp. , Vibrio cholerae และ Bacillus cereus โดยเริ่มดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 - 24 มีนาคม 2566 ข้อมูลรายงาน ณ วันที่ 28 มีนาคม 2566 โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร มีการสุ่มตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด 479 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวน 408 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.17 พบการปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวน 71 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวน 408 ตัวอย่าง และตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 0 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค คิดเป็นร้อยละ 85.17

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในระบบทางเดินอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli , Staphylococcus aureus ,Salmonella spp. , Vibrio cholerae และ Bacillus cereus โดยเริ่มดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 – 30 พฤษภาคม 2566 ข้อมูลรายงาน ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร มีการสุ่มตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด 2,102 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 1,733 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 82.45 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 369 ตัวอย่าง ทั้งนี้ตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 1,733 ตัวอย่าง และตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 219 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจ ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค คิดเป็นร้อยละ 92.86

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในระบบทางเดินอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli , Staphylococcus aureus ,Salmonella spp. , Vibrio cholerae และ Bacillus cereus โดยเริ่มดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 – 16 กรกฎาคม 2566 ข้อมูลรายงาน ณ วันที่ 5 กันยายน 2566 โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร มีการสุ่มตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด 3,000 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2,473 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 82.43 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 527 ตัวอย่าง ทั้งนี้ตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2,473 ตัวอย่าง และตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 527 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค คิดเป็นร้อยละ 100

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม 1. ตัวอย่างอาหาร หมายถึง ตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มินิมาร์ท/ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และร้านอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต 2. เชื้อโรค หมายถึง เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. , Vibrio cholerae และ Bacillus cereus 3. ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค หมายถึง ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารต้องอยู่ในเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารฉบับปัจจุบัน ดังนี้ 3.1 ต้องไม่พบการปนเปื้อนของ Salmonella spp และ Vibrio cholerae 3.2 ต้องไม่พบการปนเปื้อนของ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด 4. การตรวจวิเคราะห์หาเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร แบ่งประเภทกลุ่มอาหารออกเป็น 6 กลุ่ม ตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารฉบับปัจจุบัน ดังนี้ 4.1 กลุ่มผักและผลไม้ตัดแต่ง สลัดผัก ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. และ ibrio cholerae 4.2 กลุ่มอาหารทะเลที่บริโภคดิบ ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. และ Vibrio cholera 4.3 กลุ่มขนมหวานหรือขนมไทย ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. และ Bacillus cereus 4.4 กลุ่มขนมอบที่มีไส้หรือไม่มีไส้ ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. และ Bacillus cereus 4.5 กลุ่มอาหารพร้อมบริโภคทั่วไป ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. และVibrio cholerae 4.6 กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่ได้บรรจุในภาชนะปิดสนิท ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus , Salmonella spp. และ Bacillus cereus 5. กรณีพบการปนเปื้อนเชื้อโรคสำนักงานเขตดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแก้ไข และเก็บตัวอย่างอาหารตรวจซ้ำจนไม่พบการปนเปื้อน ผลผลิต จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อโรค ผลลัพธ์ ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อน เชื้อโรค

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค บวกด้วยจำนวนตัวอย่างอาหารที่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค ได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วไม่พบการปนเปื้อนคูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนเชื้อโรคทั้งหมด สูตรการคำนวณ (จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค + จำนวนตัวอย่างอาหารที่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค ได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วไม่พบการปนเปื้อน x 100) / จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนเชื้อโรคทั้งหมด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์
:๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City)
:๑.๕.๒ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพทุติยภูมิและตติยภูมิ%
:๑.๕.๒.๑ พัฒนาศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง