รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ : 0800-6740

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 98

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
100.00

0 / 0
3
100.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มินิมาร์ท/ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และร้านอาหาร ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้นหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร 8 ชนิด ได้แก่ ตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลงตกค้างในผักผลไม้ วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 25,759 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ฯ/ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 25,733 ตัวอย่าง (ร้อยละ 99.90) ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ/พบการปนเปื้อน จำนวน 26 ตัวอย่าง (ร้อยละ 0.10) ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ ได้รับการแก้ไขพร้อมทั้งดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจซ้ำและไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 26 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่ม เป้าหมาย ดังนี้ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มินิมาร์ท/ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และร้านอาหาร ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้นหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร 8 ชนิด ได้แก่ ตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลงตกค้างในผักผลไม้ วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เดือนพฤษภาคม 2566 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 56,632 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ฯ/ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 56,585 ตัวอย่าง (ร้อยละ 99.92) ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ/พบการปนเปื้อน จำนวน 47 ตัวอย่าง (ร้อยละ 0.08) ทั้งนี้ตัวอย่างที่ ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ ได้รับการแก้ไขพร้อมทั้งดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจซ้ำและไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 47 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่ม เป้าหมาย ดังนี้ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มินิมาร์ท/ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และร้านอาหาร ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้นหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร 8 ชนิด ได้แก่ ตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลงตกค้างในผักผลไม้ วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เดือนสิงหาคม 2566 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 74,846 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ฯ/ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 74,794 ตัวอย่าง (ร้อยละ 99.93) ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ/พบการปนเปื้อน จำนวน 52 ตัวอย่า' (ร้อยละ 0.07) ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ/พบการปนเปื้อน ได้รับการแก้ไขพร้อมทั้งดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจซ้ำและไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 52 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 100

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม/คำอธิบาย 1. ตัวอย่างอาหาร หมายถึง ตัวอย่างอาหาร ที่ได้รับการสุ่มตรวจในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มินิมาร์ท/ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และร้านอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต 2. สารพิษ หมายถึง สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 8 พารามิเตอร์ ได้แก่ 2.1 สารบอแรกซ์ 2.2 สารฟอร์มาลิน 2.3 สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) 2.4 สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) 2.5 กรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู 2.6 วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) 2.7 ยาฆ่าแมลง 2.8 สารโพลาร์ โดยการสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test-kit) 3. ไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ หมายถึง ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารต้องอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ 3.1 ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) และสารกันรา (กรดซาลิซิลิค) 3.2 ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู 3.3 ต้องไม่พบวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) ยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด 4. กรณีพบการปนเปื้อนสารพิษ สำนักงานเขตดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแก้ไข และเก็บตัวอย่างอาหารตรวจซ้ำจนไม่พบการปนเปื้อน ผลผลิต จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนสารพิษ ผลลัพธ์ ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ วกด้วยจำนวนตัวอย่างอาหารที่พบการปนเปื้อนสารพิษ ได้รับ การปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วไม่พบการปนเปื้อน คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนสารพิษทั้งหมด สูตรการคำนวณ (จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ + จำนวนตัวอย่างอาหารที่พบการปนเปื้อนสารพิษ ได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วไม่พบการปนเปื้อน) x 100) / จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนสารพิษทั้งหมด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์
:๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City)
:๑.๕.๒ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพทุติยภูมิและตติยภูมิ%
:๑.๕.๒.๑ พัฒนาศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง