รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายตามยุทธศาสตร์เข้าถึงสวัสดิการ การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ : 0800-6744

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 88.91

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
64.82

0 / 0
4
88.91

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้วยบริการทางสังคมสงเคราะห์ โดย 1) รวบรวมและติดตามรายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 1 (ข้อมูลเดือน ต.ค.-ธ.ค.65) 2) สรุปวิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 67.80 3) อยู่ระหว่างการรวบรวมและติดตามผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 2 (ข้อมูลเดือน ม.ค.-มี.ค.66)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้วยบริการทางสังคมสงเคราะห์ โดย 1) รวบรวมและติดตามรายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 (ข้อมูลเดือนมกราคม - มีนาคม 2566) 2) ผลการดำเนินตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566 พบว่า ร้อยละ 68.77 ของกลุ่มเป้าหมายตามยุทธศาสตร์เข้าถึงสวัสดิการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจบครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ 3) อยู่ระหว่างรวบรวมและติดามรายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 3 (ข้อมูลเดือน เมษายน - กรกฎาคม 2566) ** จำนวนผู้สูงอายุ คนพิการ และด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ได้รับสวัสดิการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 5,358 คน จากจำนวนผู้สูงอายุ คนพิการ และด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ได้รับสวัสดิการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานทั้งหมด จำนวน 8,266 คน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้วยบริการทางสังคมสงเคราะห์ โดย 1) สรุปและวิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 2 ข้อมูลเดือนตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายยุทธศาสตร์ เข้าถึงบริการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 8,266 คน ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 5,358 คน คิดเป็นร้อยละ 64.82 2) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 3 (ข้อมูลเดือนตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566) 3) สรุปและวิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 3 ข้อมูลเดือนตุลาคม 2565 – กรกรกฎาคม 2566 พบว่ามีกลุ่มเป้าหมายยุทธศาสตร์ เข้าถึงบริการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 15,865 คน ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 14,106 คน คิดเป็น ร้อยละ 88.91

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม กลุ่มเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ หมายถึง ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ที่เข้าสู่ระบบบริการสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข ผู้ด้อยโอกาส หมายถึง ผู้ประสบปัญหา ความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม ภัยธรรมชาติและภัยสงคราม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ตลอดจน ผู้ประสบปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรหลักรับผิดชอบอันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่าเทียมกับผู้อื่น ประกอบด้วย กลุ่มคนยากจน คนเร่ร่อน ผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ ผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ได้รับผลกระทบ ผู้พ้นโทษ และกลุ่มเปราะบางอื่นๆ สวัสดิการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน จนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ หมายถึง การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตามภารกิจงานสังคมสงเคราะห์ทางสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข จนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ การประเมิน การวินิจฉัย การวางแผน การช่วยเหลือ (ในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษา การบำบัดทางสังคม การจัดหาทรัพยากร การส่งต่อ) และการประเมินผลหรือติดตามหรือยุติบริการ ตามดุลยพินิจ ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 85

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณ จำนวนผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ที่ได้รับสวัสดิการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ หารด้วย จำนวนผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ที่ได้รับสวัสดิการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานทั้งหมด คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๓ –การลดความเหลื่อมล้ำด้วยการบริหารเมืองรูปแบบอารยะสำหรับทุกคน
:๓.๑ - ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างครบวงจร
:๓.๑.๓ มีระบบสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส%
:๓.๑.๓.๑ ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากปีฐาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง