รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จในการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติด ในชุมชน : 0800-6784

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.00

0 / 0
2
1.00

0 / 0
3
1.00

0 / 0
4
5.00

100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ จัดทำแผนการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน และซักซ้อมความเข้าใจให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขทราบพร้อมดำเนินการ โดยได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒๓ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง และผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Microsoft Teams โดยรองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (แพทย์หญิง ภาวิณี รุ่งทนต์กิจ) เป็นประธาน การประชุม ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ จัดทำแผนการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน และซักซ้อมความเข้าใจให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขทราบพร้อมดำเนินการ โดยได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒๓ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง และผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Microsoft Teams โดยรองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (แพทย์หญิง ภาวิณี รุ่งทนต์กิจ) เป็นประธาน การประชุม ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1.จัดประชุมคณะทำงานบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน (ครั้งที่ 2) ระหว่างวันที่ 30 พ.ค. – 23 มิ.ย. 2566 โดยมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่จัดประชุมเรียบร้อยแล้ว 52 แห่ง (ศบส. 17 แห่ง ที่รายงานไม่ครบ ได้แก่ ศบส.2, 11, 14, 17, 20, 28, 36, 39, 46, 47, 53, 55, 60, 62, 63, 65 และ 67) 2. เตรียมความพร้อมจัดเวทีประชาคมในชุมชน (ครั้งที่ 2) ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 69 แห่ง ระหว่างวันที่ 16 – 30 มิ.ย. 2566 ตามแนวทางที่สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ขอความร่วมมือ โดยมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่จัดกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว 27 แห่ง ได้แก่ ศบส.1, 2, 5, 10, 16, 20, 21, 25, 26, 27, 28, 31, 32, 33, 36, 40, 41, 44, 47, 48, 54, 60, 61, 64, 65, 68, และ 69 3. อยู่ระหว่างจัดกิจกรรมเฝ้าระวัง ค้นหา คัดกรอง จัดทำทะเบียน รวมทั้งเตรียมความพร้อมเพื่อประสานส่งต่อ และดูแลบำบัดฟื้นฟูตามความเหมาะสม ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 69 แห่ง โดยมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่รายงานผลการดำเนินงานครบ 7 ขั้นตอนแล้ว จำนวน 63 แห่ง(ศบส. 6 แห่ง ที่รายงานไม่ครบ ได้แก่ ศบส.2, 4, 33, 38, 39, และ 48) ร้อยละ 60 - ระดับความสำเร็จ ระดับ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชนได้ตามเกณฑ์ครบถ้วน ตั้งแต่ 65 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 94.20 และได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณาให้ความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม การบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน หมายถึง การดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติด และการให้บริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด โดยชุมชนเป็นฐาน ตามเกณฑ์ที่กำหนด 7 ข้อ ดังนี้ 1. ตั้งคณะทำงานในพื้นที่ และจัดประชุมอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 2. จัดทำเวทีประชาคมในชุมชน อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 3. จัดทำข้อตกลงร่วมกัน 4. จัดทำแผนการดูแลผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน 5. ระดมทรัพยากรในชุมชนเพื่อดำเนินการ 6. เฝ้าระวัง ค้นหา คัดกรอง และจัดทำทะเบียนผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและสารเสพติด 7. ให้การดูแล บำบัดฟื้นฟูตามความเหมาะสม - หน่วยงาน/ส่วนราชการฯ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข - พื้นที่ดำเนินการ หมายถึง จำนวนชุมชนแห่งใหม่ 1 ชุมชนต่อ 1 ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมทั้งสิ้น 69 ชุมชน - ค่าเป้าหมายในระดับ 5 คือ สามารถดำเนินการได้ ร้อยละ 80 ของพื้นที่ดำเนินการ (55 ชุมชน)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ นับจำนวนชุมชนที่ดำเนินการได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดครบ ทั้ง 7 ข้อ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน ระบบข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานป้องกันและบำบัด การติดยาเสพติด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ%
:๑.๑.๒.๑ เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง