ค่าเป้าหมาย : 0
ผลงานที่ทำได้ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักการโยธา 2. ประชุมคณะทำงานฯ และจัดทำบัญชีรายการข้อมูล ตามเอกสารหมายเลข 4 3. ที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้มีการนำเสนอการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน และได้จัดส่งเอกสารการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว
จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และนำเข้าในระบบการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ดำเนินการตามแนวทางของตัวชี้วัดจนถึงขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม และส่งหลักฐานการดำเนินการให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือที่ กท 0902/2233 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2564
1) จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักการโยธา 2) จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการโยธา 3) ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อจัดทำบัญชีรายการข้อมูลและนำเสนอการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ เพิ่มเติมจากฐานข้อมูลเดิม จำนวน 1 เรื่อง 4) จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และนำเข้า ในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดที่ 5.2 5) รักษาสถานภาพฐานข้อมูลเดิม (ข้อมูลไฟฟ้าแสงสว่าง ข้อมูลอาคาร ข้อมูลทั่วไปและการซ่อมแซมปรับปรุง ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า คันหิน สะพาน และอุโมงค์ ข้อมูลการควบคุมฝุ่นละออง ข้อมูลการนำสายไฟฟ้า ลงใต้ดิน ข้อมูลการจัดสาธารณูปโภคให้กับอาคารสถานที่ของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร) และพัฒนาฐาน ข้อมูลใหม่ (ข้อมูลการขออนุญาตสาธารณูปโภค) โดยนำเข้าข้อมูลในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ที่ 5.2 แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 6) ปรับปรุงข้อมูล ผลการติดตั้ง/ซ่อมแซมไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะในพื้นที่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และข้อมูลการขออนุญาตสาธารณูปโภค ในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดที่ 5.2 เดือนละ 1 ครั้ง 7) เผยแพร่ข้อมูลการขออนุญาตสาธารณูปโภค ผ่านเว็บไซต์ http://www.bangkok.go.th/yota หัวข้อ “ระบบฐานข้อมูลโครงการก่อสร้าง สำนักการโยธา”
ค้าอธิบาย ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทาได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทาไว้ในรูปของ เอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสารวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ ชุดข้อมูล หมายความว่า การนาข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล บัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บ หลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคาอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทาให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจาก แหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย 1) การกาหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการข้อมูลของหน่วยงาน 2) การวางแผนการดาเนินงาน การปฏิบัติตามแผนการดาเนินงาน การตรวจสอบและการรายงานผลการดาเนินงาน และการปรับปรุงแผนการดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบบริหารและ กระบวนการจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และคุ้มครองข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ 3) การกาหนดมาตรการควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมินความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูล 5) การจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อกาหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สาหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูลโดยการนาเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผน การพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100) ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดาเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสาคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ
เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผลพิจารณาการดาเนินงานของหน่วยงาน แบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ. 2563 คือ ความสมบูรณ์ของการนาเข้าข้อมูล และเชื่อมโยงระบบย่อยของหน่วยงาน 1.1 ความครบถ้วนและความถูกต้องในการนาเข้าข้อมูล 1.2 การนาเข้าข้อมูลในระบบภายในกาหนด ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสาคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ
เอกสาร/หลักฐานประกอบการพิจารณาประเมินผล สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลใช้ข้อมูลผลการดาเนินการตามตัวชี้วัดจากระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และ BMA Monitor Application ในการ ประกอบการพิจารณาการประเมินผล โดยหน่วยงานผู้รับการประเมินต้องรายงานข้อมูลอย่างชัดเจน พร้อมทั้งตรวจเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบของโครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานปลายปีงบประมาณ
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
:๗.๕.๑.๔ มีการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด |