รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(ตัวชี้วัดเจรจาตกลง) ร้อยละของอาคารสถานที่ของกรุงเทพมหานครได้รับการปรับปรุง/ สํารวจและตรวจสอบให้เป็นไปตามแนวคิด Universal Design : 1000-1072

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 40

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 47

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
42.00

0 / 0
2
42.00

0 / 0
3
45.00

0 / 0
4
47.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ติดตามการปรับปรุงอาคารของ กทม. แล้วเสร็จ จำนวน 58 แห่ง อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลเบื้องต้นและแผนการให้คำปรึกษาแนะนำกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำการออกแบบ รายการ และประมาณราคา เพื่อนำมาของบประมาณและดำเนินการปรับปรุง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ติดตามการปรับปรุงอาคารของ กทม. แล้วเสร็จ จำนวน 58 แห่ง อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลเบื้องต้นและแผนการให้คำปรึกษาแนะนำกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำการออกแบบ รายการ และประมาณราคา เพื่อนำมาของบประมาณและดำเนินการปรับปรุง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนการให้คำปรึกษาแนะนำกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำการออกแบบ รายการ และประมาณราคา เพื่อนำมาของบประมาณและดำเนินการปรับปรุง ดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ 62 แห่ง อยู่ระหว่างสำรวจและตรวจสอบสถานบริการด้านกีฬา นันทนาการและแหล่งเรียนรู้ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จำนวน 16 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1) ปี 2566 อาคารสถานที่ของ กทม. ได้รับการปรับปรุงตามแนวคิด Universal Design จำนวน 23 แห่ง สะสม 64 แห่ง จากทั้งหมด 136 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 47 2) สถานบริการด้านกีฬา นันทนาการและแหล่งเรียนรู้ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้รับการสำรวจ จำนวน 31 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

อาคารสถานที่ของกรุงเทพมหานคร หมายถึง อาคารที่ทำการของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดเป้าหมาย ร้อยละ 40 ของ 136 อาคาร ภายในปี 2566 ต้องได้รับการจัดสาธารณูปโภคสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการอย่างทั่วถึง การดำเนินการต้องเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากต้องมีการกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับทุกคน Universal Design อย่างถูกต้อง ซึ่งสำนักการโยธาเป็นหน่วยงานหลักในการให้คำแนะนำ ที่ปรึกษาให้กับหน่วยงาน รวมทั้งต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการ - ในปี พ.ศ. 2562 - 2565 สำนักการโยธาได้มีการให้คำปรึกษาแนะนำกับสำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข ในการจัดทำการออกแบบ รายการ และประมาณราคา เพื่อนำมาของบประมาณและดำเนินการปรับปรุง และ มีการติดตามและประเมินผล เพื่อให้ได้ข้อมูลจำนวนอาคารที่ได้มีการปรับปรุงให้มีสาธารณูปโภคสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในปี 2566 สำนักการโยธาจะดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำกับโรงพยาบาลและสำนักต่าง ๆ ในการจัดทำการออกแบบ รายการ และประมาณราคา เพื่อนำมาของบประมาณและดำเนินการปรับปรุง - ปี 2566 สำนักการโยธาจะ ขอความร่วมมือจากสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ในการดำเนินการสำรวจและตรวจสอบอาคารด้านกีฬา นันทนาการและแหล่งเรียนรู้ในสังกัดของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ให้เป็นไปตามแนวคิด Universal Design

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. จำนวนอาคารของกรุงเทพมหานครได้รับการปรับปรุง/จัดสาธารณูปโภคฯ แล้วเสร็จ x 100 หารด้วยอาคารของกรุงเทพมหานครทั้งหมด (136 อาคาร) 2. จำนวนสถานบริการด้านกีฬา นันทนาการและแหล่งเรียนรู้ ได้รับการสำรวจและตรวจสอบ x 100 หารด้วยจำนวนสถานบริการด้านกีฬา นันทนาการและแหล่งเรียนรู้ทั้งหมดของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (31 แห่ง)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สำนักการโยธา ติดตามความคืบหน้ากับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
:๓.๑ - ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างครบวงจร
:๓.๑.๓ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ด%
:๓.๑.๒.๑ มีระบบสาธารณูปโภคสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง