ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด จำนวน 2 ครั้ง 2. อยู่ระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการโยธา เพื่อจัดส่งให้สำนักการระบายน้ำ ภายในวันที่ 10 เม.ย. 66
1. เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด จำนวน 2 ครั้ง 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการโยธา ส่งให้สำนักการระบายน้ำ 3. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนฯ
1. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) แก่ประชาชนฯ พื้นที่เป้าหมาย บริเวณสะพานข้ามคลอง จำนวน 3 แห่ง 2. ดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ช่วงจากสะพานเทเวศรนฤมิตรถึงแม่น้ำเจ้าพระยา (เทเวศร์) พื้นที่เขตดุสิตและเขตพระนคร 3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาสะพานข้ามคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จำนวน 123 สะพาน
การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายโดยมีเป้าหมายให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองเป้าหมายตามบัญชีคลองของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต
ภารกิจของสำนักการโยธา 1. เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการโยธา ส่งสำนักการระบายน้ำ 3. สำรวจและออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design)และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามแนวคลอง พื้นที่หรือย่านริมคลอง และสะพานข้ามคลอง (เพิ่มเติม) ตามแนวคลองเป้าหมาย ได้แก่ 1) สะพานข้ามคลองลำผักชี ถนนเทพรักษ์ พื้นที่เขตบางเขน 2) สะพานข้ามคลองบางซื่อ ถนนรัชดาภิเษก พื้นที่เขตห้วยขวาง 3) สะพานข้ามคลองสามเสนใน ถนนเพชรอุทัย พื้นที่เขตห้วยขวาง กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณในปีถัดไป 4. ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามที่ได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กรณีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานในปีถัดไป 5. ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางสัญจรเข้าสู่ท่าเทียบเรือตามนโยบายกรุงเทพเดินได้พัฒนาทางเท้า 1,000 กม.(P026), เลียบคลองเดินได้ปั่นปลอดภัย (P028) 6. ร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตาม ข้อ 1.6 7. ตรวจสอบและบำรุงรักษาสะพานข้ามคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 8. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงาน พร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566
1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ๒. Action Plan ของแต่ละหน่วยงาน ๓. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๔. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 5. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน ๕. ผลสรุปคะแนนรายหน่วยงานและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |