ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. พท.ถนนสายหลักทั่วไป ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 100 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. ถึง 31 ธ.ค. 64 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 80 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ถ.เสนานิคม บริเวณปากซอยเสนานิคม 1 ถึงคลองลาดพร้าว เขตจตุจักร ณ วันที่ 14 ต.ค. 64) 2. พท.จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร 12 จุด ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 60 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. ถึง 31 ธ.ค. 64 ไม่พบรายงานน้ำท่วมขังตามเกณฑ์นี้
1. พท.ถนนสายหลักทั่วไป ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 100 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 65 ไม่พบรายงานน้ำท่วมขังตามเกณฑ์นี้ 2. พท.จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร 12 จุด ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 60 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 65 ไม่พบรายงานน้ำท่วมขังตามเกณฑ์นี้
1. พท.ถนนสายหลักทั่วไป ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 100 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย. 65 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 75 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ถ.รามคำแหง บริเวณซ.รามคำแหง 21-39 เขตบางกะปิ ณ วันที่ 16 มิ.ย. 65) 2. พท.จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร 12 จุด ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 60 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย. 65 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 54 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ถ.พญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์ เขตราชเทวี ณ วันที่ 15 พ.ค. 65)
1. พท.ถนนสายหลักทั่วไป ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 100 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 64 ถึง 30 ก.ย. 65 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 165 นาที บริเวณ ถ.ประชาสงเคราะห์ (ร.ร.พร้อมพรรณ - ประชาสงเคราะห์ ซอย 4) เขตดินแดง ณ วันที่ 24 ก.ย. 65 (ระดับ 3) 2. พท.จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร 12 จุด ที่ปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 60 มม./ชม. ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 64 ถึง 30 มิ.ย. 65 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 54 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ถ.พญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์ เขตราชเทวี ณ วันที่ 15 พ.ค. 65) (ระดับ 5)
ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สำนักการระบายน้ำรับผิดชอบดูแลในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นผิวถนนที่มีจุดติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำบนผิวถนน ความสามารถในการระบายน้ำจากถนนสายหลัก หมายถึง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายบนพื้นผิวถนนสายหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางสัญจร ของประชาชนเนื่องจากฝนตก บริเวณเส้นทางถนนสายหลักทั่วไป รวมถึงการเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร ให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นผิวถนน เข้าสู่สภาวะปกติได้ในเวลาที่กำหนด
นับจากผลรวมคะแนนของระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายจุดที่สูงที่สุด บริเวณเส้นทาง ถนนสายหลักทั่วไปที่ปริมาณความเข้มของฝนไม่เกิน 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และบริเวณจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 จุด ที่ปริมาณความเข้มของฝน ไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ยกเว้น บริเวณพื้นที่ที่มีการก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ และยกเว้นไม่นำมาคำนวณกรณีเกินค่าเป้าหมาย (90 นาที) จำนวน 5 ครั้ง
ข้อมูลสถิติการระบายน้ำ โดยใช้ค่าข้อมูลจากระบบ โทรมาตรแสดงผลแบบเรียลไทม์ (Real-Time) และรายงานสถานการณ์น้ำท่วมภาคสนาม จากกองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 ถึง 30 ก.ย. 65
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ |