ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 75
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
แม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ คลองชักพระ และคลองพระโขนง พื้นที่กรุงเทพมหานคร มีความยาวริมตลิ่งประมาณ 88.00 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็นแนวป้องกันตนเองของเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ความยาวประมาณ 4.80 กิโลเมตร แนวฟันหลอ 3.20 กิโลเมตร และเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อสร้างโดยสำนักการระบายน้ำ ความยาวประมาณ 80.00 กิโลเมตร
แม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ คลองชักพระ และคลองพระโขนง พื้นที่กรุงเทพมหานคร มีความยาวริมตลิ่งประมาณ 88.00 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็นแนวป้องกันตนเองของเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ความยาวประมาณ 4.80 กิโลเมตร แนวฟันหลอ 3.20 กิโลเมตร และเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อสร้างโดยสำนักการระบายน้ำ ความยาวประมาณ 80.00 กิโลเมตร
ปริมาณน้ำหลาก หมายถึง ปริมาณน้ำทุ่งและน้ำเหนือที่ไหลบ่าผ่านกรุงเทพมหานครส่งผลกระทบให้แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง ซึ่งขนาดของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานครสามารถรองรับได้ประมาณ 2,500 - 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยไม่มีน้ำล้นตลิ่ง ปริมาณน้ำหนุน หมายถึง ระดับน้ำทะเลเคลื่อนไหวขึ้นและลงโดยธรรมชาติจะ ส่งผลกระทบให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานครมีการขึ้น - ลง คล้อยตามกัน ความสามารถรองรับปริมาณน้ำหลากและน้ำหนุนที่ความสูง +3.00 ม.รทก. หมายถึง การวัดความสามารถของระบบป้องกันน้ำท่วม โดยการสร้างคันกั้นน้ำปิดล้อมพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อป้องกันน้ำท่วมจาก น้ำหลากและน้ำทะเลหนุนที่ระดับความสูง +3.00 ม.รทก.
การเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำหลาก และน้ำหนุนที่ความสูง +3.00 ม.รทก. พิจารณาในระดับผลผลิตจากการดำเนินงานโครงการก่อสร้างปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ปิดล้อม กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 100 ของพื้นที่ = (พื้นที่ที่สามารถป้องกันน้ำท่วมที่ความสูง +3.00 ม.รทก. / พื้นที่ปิดล้อมกรุงเทพมหานคร) x 100
พิจารณาในระดับผลผลิตจากการดำเนินงานโครงการก่อสร้างปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ปิดล้อมกรุงเทพมหานคร
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๑ การสร้างศักยภาพและความสามารถในการจัดการสาธารณภัยและลดความเสี่ยงอุทกภัย |