รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์) : 1100-6522

ค่าเป้าหมาย นาที : 180

ผลงานที่ทำได้ นาที : 235

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(นาที)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
175.00
95
95 / 100
2
15.00
100
100 / 100
3
50.00
100
100 / 100
4
235.00
95
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. ถึง 31 ธ.ค. 65 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 175 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ซ.สุขุมวิท 26 ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย ณ วันที่ 9 ต.ค. 65)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 66 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 15 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ปากซอยอินทามระ 45 ถ.อินทามระ เขตดินแดง ณ วันที่ 5 ก.พ.66)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย. 66 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 50 นาที (จุดที่สูงสุดคือ ซอยอินทามระ53 ถ.ประชาสุข เขตดินแดง ณ วันที่ 30 พ.ค.66)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. ถึง 30 ก.ย. 66 พบระยะเวลาในการบริหารจัดการน้ำรอการระบายสูงสุดเป็นเวลา 235 นาที (จุดที่สูงสุดคือ หมอชิตใหม่ ถนนกำแพงเพชร1 เขตจตุจักร ณ วันที่ 22 ก.ค.66)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สำนักการระบายน้ำรับผิดชอบดูแลในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นผิวถนนที่มีจุดติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำบนผิวถนน ความสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง หมายถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังใน พื้นผิวถนนที่ปริมาณฝนตก 80 - 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ให้สามารถระบายน้ำท่วมขังเข้าสู่สภาวะปกติได้ในเวลาที่กำหนด ยกเว้น พื้นที่ที่มีการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำและปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการควบคุม

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนนาที ที่สามารถระบายน้ำท่วมขังจากถนนสายหลัก (วัดจากช่วงเวลาน้ำท่วมนับจากฝนหยุดตก) กรณีฝนตก 80 - 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้ข้อมูลสถิติที่บันทึกไว้จากกองสารสนเทศระบายน้ำ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

นับจากผลรวมคะแนนของระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายจุดที่สูงที่สุด บริเวณเส้นทางถนนสายหลักทั่วไปที่ปริมาณความเข้มของฝนไม่เกิน 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และบริเวณจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 จุด ที่ปริมาณความเข้มของฝนไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ยกเว้น บริเวณพื้นที่ที่มีการก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ และยกเว้นไม่นำมาคำนวณกรณีเกินค่าเป้าหมาย (90 นาที) จำนวน 5 ครั้ง ข้อมูลสถิติการระบายน้ำ โดยใช้ค่าข้อมูลจากระบบโทรมาตรแสดงผลแบบเรียลไทม์ (Real-Time) และรายงานสถานการณ์น้ำท่วมภาคสนาม จากกองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 ถึง 30 ก.ย. 66

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๓.๑.๑ การสร้างศักยภาพและความสามารถในการจัดการสาธารณภัยและลดความเสี่ยงอุทกภัย

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง