ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99.68
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๑ รวม 15.15% 2. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๒ รวม 72.12% 3. การจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน (ครบถ้วน)
1. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๑ รวม 45.33% 2. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๒ รวม 78.62% 3. การจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน (ครบถ้วน)
1. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๑ รวม 77.76% 2. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๒ รวม 87.14% 3. การจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน (ครบถ้วน)
1. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๑ รวม 100% 2. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน.๐๒ รวม 99.35% 3. การจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน (ครบถ้วน)
นิยาม ๑. การบริหารจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายถึง การลดปัจจัยเสี่ยงจากอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากน้ำฝนให้สามารถระบายน้ำท่วมขังได้เร็วขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับและกักเก็บน้ำ ลดผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนให้น้อยลง ทั้งนี้ สำนักการระบายน้ำต้องจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตต้องจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมประจำปีในระดับพื้นที่ โดยมีภารกิจอย่างน้อยในการเตรียมการและเผชิญเหตุ ดังนี้ ๑. การขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล ๒. การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาท่อระบายน้ำ ฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ รางระบายน้ำรูปตัววี และคันหิน ๒. ความสำเร็จในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา น้ำท่วมกรุงเทพมหานครและในระดับพื้นที่ ซึ่งสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขต ได้ดำเนินการตามแผนฯ ที่กำหนด โดยสามารถระบายน้ำท่วมขังบริเวณถนนสายหลัก ตรอก ซอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานตามตัวชี้วัด ๑. ประเมินผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา โดย ๑.๑ วิเคราะห์/ประเมินผลการปฏิบัติงานปีที่ผ่านมา ๑.๒ ประเมินจุดอ่อนหรือปัญหาในการปฏิบัติเพื่อหาปัจจัยความสำเร็จ และแนวทางแก้ไขในระยะต่อไป ๒. สำรวจข้อมูลในประเด็นต่อไปนี้ ๒.๑ ความยาวท่อระบายน้ำ ที่ต้องลอกและล้างทำความสะอาด ๒.๒ คู คลอง ที่มีความพร้อมและที่ต้องขุดลอก ๓. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและประสานสำนักงานเขตพื้นที่เพื่อจัดทำแผนฯ ในระดับพื้นที่ ประกอบด้วยแผนการเตรียมการและเผชิญเหตุ และดำเนินการตามแผนฯ โดยมีภารกิจอย่างน้อย ดังนี้ 3.1 การขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล โดยใช้แรงงาน และการจ้างเหมาตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนฯ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ ตามแบบ สนน. ๐๒ ไม่เกินวันที่ ๕ ของทุกเดือน พร้อมระบุปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน (ถ้ามี) โดยจะต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 3.2 การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาท่อระบายน้ำ ฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ รางระบายน้ำรูปตัววี และคันหิน โดยใช้แรงงาน และจ้างเหมา ตามที่ได้รับจัดสรรประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้รายงานผล การปฏิบัติงานตามแผนฯ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ ตามแบบรายงาน สนน. ๐๑ ไม่เกินวันที่ ๕ ของทุกเดือน พร้อมระบุปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน (ถ้ามี) โดยจะต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (ก่อนฤดูฝน) ๓.3 จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ โดยดำเนินการจัดกิจกรรมการรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน บริเวณตลาด ร้านค้า ชุมชน ผ่านการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์หรือสื่อสังคมออนไลน์
วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ ๑. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน. ๐๑ โดยต้องแล้วเสร็จ ร้อยละ 100 ตามแผนฯ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 (ก่อนฤดูฝน) ๒. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ แบบ สนน. ๐๒ โดยต้องแล้วเสร็จ ร้อยละ 100 ตามแผนฯ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3. การจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งของเสียลงท่อระบายน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน ๑. แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 ๒. แบบรายงานผลการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ ฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ คันหิน (สนน.01) และแบบรายงานผลการเปิดทางน้ำไหลและขุดลอกคู-คลอง (สนน. ๐2) ๓. เอกสารและภาพถ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมการรณรงค์
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๑ การสร้างศักยภาพและความสามารถในการจัดการสาธารณภัยและลดความเสี่ยงอุทกภัย |