รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

การเพิ่มรายได้ของกรุงเทพมหานคร : 1400-911

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 5

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 18.87

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
18.87
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รวบรวมผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนารายได้กรุงเทพมหานคร เพื่อสรุปและนำเสนอคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนารายได้ (เพิ่มรายได้) กรุงเทพมหานคร (ร้อยละของการดำเนินงาน ร้อยละ 20)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- รวบรวมผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนารายได้ กทม. เพื่อสรุปและนำเสนอคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนารายได้ (เพิ่มรายได้) กทม. (ร้อยละ 20) - ดำเนินการขออนุมัติโครงการมอบรางวัลแก่หน่วยงานและผู้จัดเก็บภาษีดีเด่น (ร้อยละ 20)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- จัดการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนารายได้ (เพิ่มรายได้) กรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงยกร่างแผนฯ - กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางการคัดเลือกหน่วยงานและผู้จัดเก็บภาษีดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - ประมาณการรายรับรายได้ประจำของ กทม. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 79,000 ล้านบาท สามารถจัดเก็บได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 21 มิ.ย. 66 จำนวน 62,760.47 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.44 ของประมาณการ (ร้อยละของการดำเนินงานร้อยละ 75.66)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ประมาณการรายรับรายได้ประจำของ กทม. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 79,000 ล้านบาท สามารถจัดเก็บได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 19 ก.ย. 66 จำนวน 93,911.14 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 118.87 ของประมาณการ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม 1. รายได้รวมของกรุงเทพมหานคร หมายถึง รายได้ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 1.1 รายได้ที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเอง ดังนี้ - รายได้จากภาษีอากร - รายได้ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและ ค่าบริการ - รายได้จากทรัพย์สิน - รายได้จากสาธารณูปโภค การพาณิชย์ - รายได้เบ็ดเตล็ด 1.2 รายได้ที่ส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ 2. ประมาณการรายรับ หมายถึง ประมาณการรายรับกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 2.1 ประมาณการรายได้ที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเอง ดังนี้ - ประมาณการรายได้จากภาษีอากร - ประมาณการรายได้ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและค่าบริการ - ประมาณการรายได้จากทรัพย์สิน - ประมาณการรายได้จากสาธารณูปโภค การพาณิชย์ - ประมาณการรายได้เบ็ดเตล็ด 2.2 ประมาณการรายได้ที่ส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ ภารกิจของหน่วยงาน/ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง กองรายได้ สำนักการคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บรายได้ ควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดติดตามการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ผลการจัดเก็บรายได้ทุกประเภทในภาพรวมเป็นไปตามประมาณการรายรับที่กำหนด โดยจัดทำแผนพัฒนารายได้ (เพิ่มรายได้) ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนารายได้ไว้ ดังนี้ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้จากภาษีที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเองให้ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง 2. การจัดหารายได้เพิ่มขึ้นจากแหล่งภาษีประเภทใหม่ 3. การเพิ่มรายได้ของกรุงเทพมหานครจากการจัดเก็บรายได้ที่ไม่ใช่ภาษี 4. พัฒนาวิธีการ บุคลากร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ ทั้งนี้ในปีภาษี พ.ศ. 2566 กองรายได้ สำนักการคลัง ต้องมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ แก่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างของปีภาษี พ.ศ. 2566 อาจส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้รวมของกรุงเทพมหานครไม่เป็นไปตามประมาณการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ วิธีคำนวณ : (A-B) X 100 B A = ยอดรวมรายได้ประจำของกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 B = ยอดรวมประมาณการรายรับของกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน รายงานรายรับของกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1 ฉบับ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง