ค่าเป้าหมาย ระดับ : 3
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1.จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 2.จัดทำแผนการตรวจจุดฯ และคำสั่งมอบหมายงาน 3.จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตามแผน
1. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย/ประชาชน หมายถึง ภาคีเครือข่าย/ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร่วมกับกรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักการเดียวกับอาร์สไตน์ (Arnstein) ที่นำเสนอโดยสมาคมนานาชาติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (International Association of Public Participation) ซึ่งแบ่งระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนออกเป็น 5 ระดับ ระดับ 1 การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร (มีส่วนร่วมน้อยที่สุด) ระดับ 2 การมีส่วนร่วมในระดับรับฟังความคิดเห็น (มีส่วนร่วมรับรู้) ระดับ 3 การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท (มีส่วนร่วมมือ/ลงมือทำ) ระดับ 4 การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ (มีส่วนร่วมคิดและส่วนร่วมตัดสินใจ) ระดับ 5 การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอำนาจให้ประชาชน 2. การส่งเสริมให้ประชาชนหรือภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม หมายถึง การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร่วมกับกรุงเทพมหานครภายใต้โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ (เพื่อนเทศกิจ)
กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมาย ระดับ 1 การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร - จัดทำแผนและเผยแพร่ Roadmap แนวทางปฏิบัติการ แนวทางการดำเนินงานที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ - จัดกิจกรรมให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ด้านการป้องกันอาชญากรรมแก่ประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การจัดนิทรรศการ การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ การจัดอบรมความรู้ รวมถึงการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการป้องกันตนเองและชุมชนจากปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น ระดับ 2 การมีส่วนร่วมในระดับรับฟังความคิดเห็น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับการดำเนินงานด้านการป้องกันอาชญากรรม เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น ระดับ 3 การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท - มีเครือข่าย/ประชาชนร่วมเป็น คณะทำงานในการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร - มีการประชาพิจารณ์ หมายถึง การเปิดโอกาสให้เครือข่าย /ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบด้าน และกรุงเทพมหานครได้รับฟังความคิดเห็นจากเครือข่าย/ประชาชนในเรื่องที่อาชญากรรมอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สะท้อนความคิดเห็นจากเครือข่าย/ประชาชนก่อนที่กรุงเทพมหานครจะตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ระดับที่ 4 - การดำเนินงาน/กิจกรรมตามแผนที่ได้จากข้อสรุปขั้นตอนที่ 3 ร่วมกับเครือข่าย/ประชาชน - รายงานผลการดำเนินงานรายเดือนต่อผู้บริหารสำนักเทศกิจ และรายไตรมาสต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ระดับที่ 5 - เก็บรวบรวม จัดทำ ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความรู้สึกของประชาชนก่อนและหลังการดำเนินงาน การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค เป็นต้น แล้วจัดทำเป็นสรุปผลการดำเนินงาน - รายงานสรุปผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารสำนักเทศกิจและผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานต่อไป
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน เก็บข้อมูลจากการดำเนินงานแต่ละระดับการมีส่วนร่วม เอกสารหลักฐาน 1. แผน/Roadmap/แนวทางปฏิบัติการ/แนวทางการดำเนินงาน 2. เอกสาร/รูปถ่าย/สิ่งพิมพ์ของการจัดกิจกรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ 3. รายงานการประชุม 4. ผลงาน/สรุปผล/รายงานผลของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ 5. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
:๑.๑.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปราศจากยาเสพติดและการก่อการร้าย1% |
:๑.๑.๑.๒ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่ออาชญากรรม |