ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2565 รายละเอียดดังนี้ 1. รวม 50 เขต 249 ถนน พบปัญหาความเป็นระเบียบเรียบร้อย 177 ราย 2. ปรับปรุง/แก้ไขแล้ว 177 ราย 3. เปรียบเทียบปรับ 80,900บาท 4. ร้องเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1555 จำนวน 5 ครั้ง
1. พื้นผิวถนน หมายถึง ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศไว้ ตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 2. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย หมายถึง สภาพพื้นที่ บริเวณพื้นผิวถนน ทางเท้า มีความสะอาด ไม่มีการตั้งวาง สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใด ในลักษณะกีดขวางการจราจรที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ แก่ผู้อื่นและมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน 3. การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หมายถึง การกวดขันการตั้ง วาง หรือกองวัตถุใด ๆ บนพื้นผิวถนน ทางเท้า การตรวจสอบดูแลรักษาความสะอาด ไม่ให้ มีการตั้ง วาง หรือกองวัตถุสิ่งของบนพื้นผิวถนน ทางเท้า หาบเร่-แผงลอย (นอกพื้นที่ทำการค้า) และซากยานยนต์ที่มีผู้นำมาจอดทิ้งบนพื้นผิวถนน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเน้นการบังคับการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560 และประสานงานสถานีตำรวจท้องที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 4. ระดับความสำเร็จ หมายถึง ความสำเร็จในการดำเนินการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณพื้นผิวถนนครบตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และให้หมายความรวมถึงเรื่องที่ประชาชนแจ้ง/ร้องเรียนผ่านช่องทางร้องเรียน อาทิ Line@อัศวินคลายทุกข์ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1555 และสำนักงานเขต ได้รับการแก้ไขปัญหา และการวัดความพึงพอใจของผู้สัญจรบริเวณนั้น
ผลการดำเนินงานที่ทำได้เทียบกับระดับความสำเร็จ
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๒ ปรับปรุงบริเวณสำคัญตามที่ผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคต ให้มีองค์ประกอบทาง ภูมิทัศน์เมืองเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับรู้ของเมือง |