รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ (สนท.2566) : 1500-2084

ค่าเป้าหมาย ระดับ (คะแนน) : 3.41

ผลงานที่ทำได้ ระดับ (คะแนน) : 4.5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ (คะแนน))
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
4.50

0 / 0
3
4.50
100
100 / 100
4
4.47

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.มีจุด/เส้นทาง 100 จุด/เส้นทาง ในพื้นที่ 50 เขต ในการให้บริการประชาชนตามโครงการ 2. ให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 - 02.00 น. 3. มีผู้มาใช้บริการจำนวน 258 ราย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2566 1.มีจุด/เส้นทาง 100 จุด/เส้นทาง ในพื้นที่ 50 เขต ในการให้บริการประชาชนตามโครงการ 2. ให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 - 02.00 น. 3. มีผู้มาใช้บริการจำนวน 626 ราย - ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 50 สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครต่อการใช้บริการตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ โดยการทอกแบบสอบถาม จำนวน 500 ชุด ประชาชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2566 1.มีจุด/เส้นทาง 100 จุด/เส้นทาง ในพื้นที่ 50 เขต ในการให้บริการประชาชนตามโครงการ 2. ให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 - 02.00 น. 3. มีผู้มาใช้บริการจำนวน 645 ราย รายงานผลการดำเนินการตามไตรมาสที่ 3

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎษคม ถึง มีนาคม 2566 1.มีจุด/เส้นทาง 100 จุด/เส้นทาง ในพื้นที่ 50 เขต ในการให้บริการประชาชนตามโครงการ 2. ให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 - 02.00 น. 3. มีผู้มาใช้บริการจำนวน 506 ราย - ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 50 สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครต่อการใช้บริการตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ โดยการทอกแบบสอบถาม จำนวน 530 ชุด ประชาชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 สรุปได้ว่ามีการทอดแบบสอบถามจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 500 ราย ระดับคะแนนเท่ากับ 4.50 ครั้งที่ 2 จำนวน 530 ราย ระดับคะแนนเท่ากับ 4.44 ค่าเฉลี่ยรวมกันเท่ากับ 4.47

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. บริการ หมายถึง การให้ความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่คนที่อาศัยหรือสัญจรในบริเวณนั้น ๆ ด้วยการใช้รถสายตรวจเทศกิจรับ-ส่งประชาชน ระหว่างเวลา 21.00 – 02.00 น. รวมทั้งมี QR code เพื่อนัดหมายผู้รับบริการฯ 2. ผู้ให้บริการ หมายถึง เจ้าหน้าที่เทศกิจของสำนักเทศกิจสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต 3. ผู้รับบริการและประชาชน หมายถึง คนที่อาศัย/สัญจรในบริเวณพื้นที่เสี่ยง 4. เส้นทาง/จุดบริการ หมายถึง พื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ และ/หรือถนนที่มีรถวิ่งผ่านน้อยหรือไม่มีวิ่งผ่านในช่วงเวลากลางคืนตามที่สำนักงานเขตกำหนด 5. พื้นที่เสี่ยง หมายถึง พื้นที่ที่มีโอกาสที่จะเกิดเหตุอันตราย เหตุอาชญากรรม หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในการดำเนินชีวิตของประชาชนตามที่สำนักงานเขตกำหนด 6. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกเชิงบวกของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศกิจในการดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกตามโครงการฯ โดยระดับความพึงพอใจ แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 7. การสำรวจ หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้วิธีการสอบถามความคิดเห็นจากแต่ละคนผ่านช่องทางต่าง ๆ 8. ผลการสำรวจ หมายถึง การสรุปผลโดยการจำแนกตามลักษณะต่างของผู้ตอบความคิดเห็น เช่น ระดับความรู้ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ศาสนาที่นับถือ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ลักษณะการดำเนินชีวิต เป็นต้น ขั้นตอนและวิธีการในการสำรวจความคิดเห็น ได้แก่ 1. การกำหนดหัวข้อและวัตถุประสงค์ในการสำรวจความคิดเห็น 2. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจ 3. การเตรียมและวางแผน การกำหนดวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง และการสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การประมวลผลและการวิเคราะห์ความคิดเห็น 6. การนำเสนอผลการสำรวจและจัดทำรายงาน พร้อมทั้งเผยแพร่อย่างน้อย 1 ช่องทาง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. ระดับความพึงพอใจฯ คิดจากการค่าหาเฉลี่ย ดังนี้ 1.1 การหาค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจแต่ละหัวข้อ x ̅_i=(∑_(i=1)^5▒〖w_i x_i 〗)/n_i x ̅_i คือ ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจแต่ละหัวข้อ Wi คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละระดับความพึงพอใจ Xi คือ ค่าระดับความพึงพอใจแต่ละระดับ ดังนี้ 5 คือ ระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4 คือ ระดับความพึงพอใจมาก 3 คือ ระดับความพึงพอใจปานกลาง 2 คือ ระดับความพึงพอใจน้อย 1 คือ ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ni คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละหัวข้อ 1.2 การหาค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจรวม x ̅=(∑_(i=1)^n▒x ̅_i )/N x ̅ คือ ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจรวม Ʃ คือ ผลรวมของค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจแต่ละหัวข้อทั้งหมด N คือ ผลรวมจำนวนหัวข้อทั้งหมด โดยกำหนดค่าเฉลี่ยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.21 – 5.00 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมากที่สุด 3.41 – 4.20 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมาก 2.61 – 3.40 หมายถึง ความพึงพอใจระดับปานกลาง 1.81 – 2.60 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อย 1.00 – 1.80 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เก็บข้อมูลการออกปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศกิจและแบบสำรวจความพึงพอใจ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปราศจากยาเสพติดและการก่อการร้าย1%
:๑.๑.๑.๓ เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะและลดพื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง