รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

18. การบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ของโครงการด้านการจราจร เพื่อสนับสนุนการพัฒนา Smart City ของกรุงเทพมหานคร : 1700-0795

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
25.00
100
100 / 100
3
45.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

จัดทำหนังสือขอรายชื่อคณะทำงานการบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ฯ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 4839/2561 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2561

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ประชุมคณะทำงานการบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการจราจรและขนส่ง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธาและสำนักการระบายน้ำ ประชุมคณะทำงานการบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 24 เมษายน 2562

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ประชุมคณะทำงานการบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ฯ ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ดำเนินการนำเข้าข้อมูลสาธารณูปโภคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 135 รายการ ประกอบด้วย 1. สำนักการจราจรและขนส่ง จำนวน 111 รายการ (ตามเอกสารแนบ 4) 2. สำนักการโยธา จำนวน 10 รายการ (ตามเอกสารแนบ 5) 3. สำนักการระบายน้ำ จำนวน 14 รายการ (ตามเอกสารแนบ 6) สำนักการจราจรและขนส่งอยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง และพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ข้อมูลการเดินทางเชื่อมต่อล้อ ราง เรือ และข้อมูลการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี พ.ศ.2563 ซึ่งจะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการให้ข้อมูลการเดินทางกับประชาชนได้ในอนาคต

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูลเชิงแผนที่ของโครงการด้านการจราจร หมายถึง ข้อมูลตำแหน่ง จุดที่ตั้ง (Point) เส้นทาง (Line) พื้นที่ หรือขอบเขต (Polygon) ซึ่งบันทึกลงบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของโครงการด้านการจราจรและขนส่งของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้าง ปรับปรุงถนนทั้งสายหลักและสายรอง สะพาน ทางลอด และโครงการอื่นๆที่กระทำบนพื้นที่ผิวการจราจร 2. โครงการก่อสร้าง ปรับปรุง ระบบขนส่งมวลชนสายต่างๆ 3. โครงการก่อสร้าง ปรับปรุง สัญญาณไฟจราจร บริเวณทางข้าม ทางแยก จุดตัดหรือบริเวณอื่นๆ 4. โครงการจัดทำ ปรับปรุง ซ่อมแซมเครื่องหมายจราจร ป้าย ไฟสัญญาณ อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยด้านการจราจร 5. จุดติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการจราจร 6. โครงการก่อสร้าง ปรับปรุงระบบระบายน้ำ 7. โครงการอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แนวทางการดำเนินงาน 1. ต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานผู้ดำเนินงานหลัก และหน่วยงานอื่นๆ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและขอบเขตการดำเนินงาน การเลือกใช้แผนที่ฐานและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ ให้อยู่บนระบบเดียวกัน หรือ สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันในแผนที่เดียวกันได้ ตามความเหมาะสม 2. มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้การใช้งานระบบหรือการบันทึกข้อมูลแก่ผู้ดำเนินการ ของหน่วยงานผู้ดำเนินการหลัก 3. มีการรายงานผลการดำเนินการแก่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทุกไตรมาส 4. ภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ต้องมีการบันทึกการดำเนินงานในระบบ ดังนี้ 4.1 โครงการก่อสร้าง ปรับปรุงที่ได้รับงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และอยู่ระหว่างดำเนินการ 4.2 โครงการที่มีแผนดำเนินการภายหลังปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 4.3 เส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดทั้งที่ดำเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดำเนินการ และแผนการดำเนินการในอนาคต 5. คณะทำงานมีการรวมกันจัดทำแผนการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ 5.1 ข้อมูลการปรับปรุง ซ่อมแซมผิวการจราจร หรือ โครงการอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการจราจร ย้อนหลัง 5.2 ข้อมูลการดำเนินการอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการจราจรในอนาคต

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด สำนักการจราจรและขนส่ง ต้องดำเนินการตามแนวทางการดำเนินการทุกข้อ โดยมีสัดส่วนการให้คะแนน ดังนี้ ดำเนินการข้อ 1 ร้อยละ 10 ดำเนินการข้อ 2 ร้อยละ 10 ดำเนินการข้อ 3 ร้อยละ 10 ดำเนินการข้อ 4 ร้อยละ 50 ดำเนินการข้อ 5 ร้อยละ 20 รวม ร้อยละ 100 2. ผู้ดำเนินงานหลักอื่นๆ ต้องดำเนินการตามแนวทางการดำเนินการข้อ 1 , 2 , 4 และ 5 (ยกเว้นข้อ 3) โดยมีสัดส่วนการให้คะแนน ดังนี้ ดำเนินการข้อ 1 ร้อยละ 10 ดำเนินการข้อ 2 ร้อยละ 10 ดำเนินการข้อ 4 ร้อยละ 50 ดำเนินการข้อ 5 ร้อยละ 30 รวม ร้อยละ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ตามที่ กองนโยบายและแผนงานกำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง