ค่าเป้าหมาย ผลลัพธ์ : 0
ผลงานที่ทำได้ ผลลัพธ์ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. มีหนังสือที่ กท 1602/128 ลงวันที่ 26 มกราคม 2566 เรื่องขอเชิญประชุมตามตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอถบัติเหตุทางถนน” โดยได้มีการจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ทาง แอปพลิเคชั่น Zoom (ภารกิจของหน่วยงาน ข้อ 1.2 จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดภารกิจร่วมกัน ตกลงค่าเป้าหมายของผลผลิต และขับเคลื่อนตัวชี้วัดสู่ผลสัมฤทธิ์ ภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2565 และข้อ 1.9 นำจุดเสี่ยงฯ ที่กำหนด มาวิเคราะห์ สาเหตุ และออกแบบ แนวทางแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง) 2. มีหนังสือที่ กท1602/260 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง ขอส่งบัญชีจุดเสี่ยงอุบัติเหตุตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” โดยได้ส่งบัญชีจุดเสี่ยงให้หน่วยงานสนับสนุนตัวชี้วัดฯ และขอให้จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในส่วนที่หน่วยงานสนับสนุนรับผิดชอบ ส่งกลับมายังสำนักการจราจรและขนส่ง ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566 อยู่ระหว่างรวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง และจัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวม (ภารกิจของหน่วยงาน ข้อ 1.1 กำหนดเป้าหมายผลผลิต และจัดทำบัญชีจุดเสี่ยงฯ และข้อ 1.4 รวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และจัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวม) 3. มีหนังสือที่ กท 1602/539 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2566 เรื่อง ขอส่งแบบฟอร์มการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” โดยขอให้หน่วยงานสนับสนุนจัดรายงานผลการดำเนินงานในส่วนที่รับผิดชอบให้ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
1.อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมผลการดำเนินงานแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง ตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของทุกหน่วยงาน โดยแก้ไขเเล้วเสร็จ 100% แล้ว จำนวน 27 จุด จากจำนวนทั้งหมด 115 จุด โดยได้มีการเปิดเผยข้อมูลจุดเสี่ยงที่ดำเนินการแล้วเสร็จทาง Open Data ของสำนักการจราจรและขนส่ง https://data.bangkok.go.th/dataset/risk_point โดยจะมีการอัพเดตข้อมูลทาง Open Data ทุกเดือน
รวบรวมผลการดำเนินงานแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง ตามแผนปฏิบัติการของทุกหน่วยงานตามตัวชี้วัดฯเรียบร้อยแล้ว โดยได้มีหนังสือที่ กท 1602/1362 ลงวันที่ 22 เดือนสิงหาคม 2566 เรื่อง ขอส่งแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้สัญจรบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุงตามตัวชี้วัด"ร้อยละคว่ามสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ" ให้กับ 50 สำนักเขตเพื่อทำการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนเพื่อเป็นการประเมินผลการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง สำนักการจราจรและขนส่งดำเนินการรวบรวมและประเมินผล โดยภาพรวมของตัวชี้วัด ได้เกณฑ์ร้อยละความสำเร็จ 99 และจัดอยู่ในระดับความสำเร็จ 5
ระดับความสำเร็จในการบูรณาการ หมายถึง การเชื่อมหรือประสานกับสิ่งอื่นหรือหน่วยงานอื่นๆ โดยเป็นการร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ
ระดับ 1 กำหนดเป้าหมายผลผลิตและจัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานภายใต้ตัวชี้วัดนี้ ประกอบด้วย สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้แทนกลุ่มปฏิบัติงานสำนักงานเขต จำนวน 6 กลุ่มเขต ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการร่วมกันเพื่อผลักดันภารกิจในความรับผิดชอบให้บรรลุเป้าหมายตามมติที่ประชุมร่วม โดย 1.1 จัดการประชุมร่วมทุกหน่วยงาน เพื่อกำหนดภารกิจร่วมกัน ตกลงค่าเป้าหมายของผลผลิต และขับเคลื่อนตัวชี้วัดสู่ผลสัมฤทธิ์ ภายในเดือนธันวาคม 2565 1.2 จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานเฉพาะหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานงานร่วมกัน ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินการ (เริ่มต้นดำเนินงานตามตัวชี้วัด/รายงานความก้าวหน้า/สรุปผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด) ตลอดปีงบประมาณที่ประเมิน ระดับ 2 รวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) บันทึกส่งมอบผลผลิต และผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดับ 3 รวบรวม และประมวลผลสถิติจำนวนผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระดับ 4 รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานเพื่อการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ระยะครึ่งปี (10 เม.ย. ) และสิ้นปี (15 ก.ย. ) ของงบประมาณที่ประเมิน จัดส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตามรูปแบบและแนวทางที่กำหนด ระดับ 5 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานการแก้ไขอุบัติเหตุทางถนนในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ประเมินผล ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วย ฐานข้อมูลจุดเสี่ยง แผนงาน การประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน และผลผลิตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร หมายเหตุ หากมีกรณีอุบัติเหตุที่เป็นที่จับตามองของสังคมในช่วงปีงบประมาณที่ประเมิน หน่วยงานจะต้องนำมาศึกษาเหตุการณ์และหาแนวทางป้องกันที่จะเกิดเหตุ (แล้วแต่กรณี) พร้อมเผยแพร่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ/หรือเจ้าของพื้นที่ ให้ทราบและได้รับการตอบรับภายใน ๒๔ ชม. เพื่อดำเนินการ และหน่วยงานเริ่มดำเนินการแก้ไขภายใน ๑ เดือน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๒ - ปลอดอุบัติเหตุ |
:๑.๒.๒ ลดอุบัติเหตุทางถนน% |
:๑.๒.๒.๒ การตรวจสอบสภาพถนนและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (Black Spot) |