ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1.จัดส่งรายละเอียดโครงการให้ สำนักงาน ก.ก. พิจารณา เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 2.ปรับแก้รายละเอียดโครงการตามคำแนะนำของ สำนักงาน ก.ก. 3.ขอรายชื่อเจ้าหน้าที่จากทุกส่วนราชการเพื่อจัดทำ คำสั่งคณะทำงานโครงการฯ และขออนุมัติโครงการฯ 4.อยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการและแต่งตั้ง คณะทำงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน การแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงการใประโยชน์ที่ดินในเขต ผังเมืองรวมด้วยระบบภูมิสารสนเทศ
1. ขออนุมัติโครงการและแต่งตั้ง คณะทำงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน การแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขต ผังเมืองรวมด้วยระบบภูมิสารสนเทศเรียบร้อยแล้ว 2. จัดทำคู่มือ/สื่อประชาสัมพันธ์การใช้ระบบ ภูมิสารสนเทศบนระบบเครือข่ายเพื่อบันทึกหนังสือ แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 3. อยู่ระหว่างขั้นตอนเตรียมการฝึกอบรม/เสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ที่เกี่ยวข้อง
1. ขั้นตอนเตรียมการฝึกอบรม/ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ กรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง ได้ขอปรับกระบวนการ ดำเนินงานของโครงการ ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และ ประเมินผล เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่สามารถจัดการฝึกอบรมฯ ได้ โดยจะขอปรับ เป็นการฝึกอบรมแบบใช้สื่อการสอนแทน 2. อยู่ระหว่างเตรียมการฝึกอบรม/เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง
1. ดำเนินการจัดฝึกอบรมและ ประเมินผล/เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ กรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง และประเมินผล การเพิ่มประสิทธิภาพระบบ 2. ประเมินผลการเพิ่มประสิทธิภาพและจัดทำรายงานการดำเนินโครงการฯ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มเติมความสามารถหรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นตัวชี้วัดสำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้ดำเนินการ ตัวชี้วัดที่ 3.1 ระดับความสำเร็จในการจัดการเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประชาชน/ผู้รับบริการ กระทำโดยให้หน่วยงานพิจารณาจากโอกาสในการพัฒนางาน หรือความต้องการขจัดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์องค์กร (SWOT Analysis) แล้วเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพนั้น ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการคิดสร้างสรรค์/พัฒนาจากผู้บริหารหน่วยงาน หรือผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสีย และนำแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านั้นมาจัดทำเป็นโครงการ กำหนดวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ และผลสำเร็จที่ต้องการ และดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ภายหลังจากที่หน่วยงานได้ดำเนินการตามตัวชี้วัดดังกล่าวแล้ว คาดว่าหน่วยงานจะค้นหาปัญหา แนวทางการดำเนินการพัฒนางานเพื่อที่จะช่วยให้ภารกิจของหน่วยงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน : การประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพิจารณาจากผลสำเร็จในการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (100 คะแนน) โดยประเมินจากผลสำเร็จของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดที่กำหนด วิธีการคำนวณ : 1) การคำนวณร้อยละความสำเร็จของแต่ละตัวชี้วัด ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด หารด้วยเป้าหมายของตัวชี้วัด x 100 2) การคำนวณผลรวมความสำเร็จของตัวชี้วัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผลตัวชี้วัดที่ 1 + ผลตัวชี้วัดที่ 2 + ผลตัวชี้วัดที่ 3 หารด้วยจำนวนตัวชี้วัดทั้งหมด * หมายเหตุ เป็นตัวชี้วัดสำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้ดำเนินการตัวชี้วัดที่ 3.1 (ก) ระดับความสำเร็จในการจัดการเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประชาชน/ผู้รับบริการ
ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |