รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 1800-0802

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.วางแผนการดำเนินการนำเข้าขอบเขต ข้อมูลที่ดินของรัฐในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดิน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจาก กรมธนารักษ์และกรมที่ดิน 2.อยู่ระหว่างออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล การนำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดินของรัฐในรูปแบบ ขอบเขตรูปแปลงที่ดินในระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล การนำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดินของรัฐในรูปแบบ ขอบเขตรูปแปลงที่ดินในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน 2. อยู่ระหว่างนำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดินของรัฐ ในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดินในระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน 3. ขณะนี้ดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 50 (จำนวน 25 เขต)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. อยู่ระหว่างนำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดิน ของรัฐในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดินในระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และ กรมที่ดิน และประกอบระวางแผนที่ในรูปแบบ pdf 2. ขณะนี้ดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงที่ดินของรัฐใน พื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 80 (จำนวน 40 เขต)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. นำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดินของรัฐในรูปแบบขอบเขต รูปแปลงที่ดินในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน และประกอบระวางแผนที่ในรูปแบบ pdf 2. มีแผนที่แสดงที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 100 (จำนวน 50 เขต)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ข้อมูลที่ดินของรัฐ หมายถึง ข้อมูลที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินแผ่นดินธรรมดา หรือเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งรัฐยึดถือครอบครองไว้เป็นประโยชน์แห่งรัฐ เฉพาะประเภท ที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นข้อมูลของกรมธนารักษ์ และประเภท ที่ดินที่ได้รับ นสล. (หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง) ซึ่งเป็นหนังสือแสดงสิทธิในการขอใช้ประโยชน์หรือร่วมกันใช้ที่ดินในเขตที่ราชพัสดุ หรือเขตสาธารณประโยชน์ ที่ออกโดยกรมที่ดิน โดยเป็นเอกสารสิทธิแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งอาจจะออกเป็นแปลงใหญ่รวมกันและระบุชื่อหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ไว้ได้ ซึ่งเป็นข้อมูลของกรมที่ดิน เฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลง และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้นำส่งให้สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองในรูปแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ลักษณะขอบเขตรูปแปลงที่ดิน ประกอบข้อมูลคำอธิบาย ได้แก่ เลขที่เอกสารสิทธิ ขนาดพื้นที่ และสภาพการใช้พื้นที่ 2. การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายถึง การนำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดินของรัฐในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดิน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน และนำมาประกอบระวางแผนที่ในลักษณะแผนที่แสดงที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละความสำเร็จของการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือ จำนวนแผนที่แสดงขอบเขตรูปแปลงที่ดินที่ดำเนินการแล้วเสร็จ หารด้วยจำนวนแผนที่แสดงขอบเขตรูปแปลงที่ดินทั้งหมดที่ต้องดำเนินการ (50 เขต) คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการการเก็บข้อมูล : นำเข้าขอบเขตข้อมูลที่ดินของรัฐในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดินในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และนำมาประกอบระวางแผนที่ในลักษณะแผนที่แสดงที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลเพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ แหล่งข้อมูล : ข้อมูลที่ดินของรัฐจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
:๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม
:๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ%
:๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง