ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 88.85
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 89.1
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1.ที่ปรึกษาดำเนินการตามสัญญาฯ 2.อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลการตรวจรับฯ
ประชุมหารือร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการในประเด็นการเชื่อมต่อโครงข่ายถนนโครงการของแผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ง เมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2566
21/04/2566 : 1.ปรึกษาส่งรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2566 2.ประชุมกลุ่มจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับ กทม. เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 3.อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) คาดว่าจะมีการประชุมตรวจรับพัสดุในวันที่ 21 เม.ย 2566 4.ประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุฯ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 โดยที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขรายงานฯ ก่อนนำกลับมาเสนอสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองอีกครั้ง 5.ที่ปรึกษาส่งรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) ฉบับแก้ไข เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 66 อยู่ระหว่างการตรวจรับพัสดุ 6.ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 7..ประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุฯ เมื่อพิจารณารายงานความก้าวหน้าฉบับแก้ไข เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 อยู่ระหว่างการรายงานผลฯ 8..ประชุมหารือแนวทางวิธีการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรและสมาคมวิชาชีพฯ จำนวน 3 ครั้ง เมื่อวันที 8 , 13 และ 15 มิถุนายน 2566
1 เบิกจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาฯ งวดที่ 5 เรียบร้อยแล้ว 2 ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3/2566 เพื่อพิจารณาร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ความก้าวหน้าคิดเป็น ร้อยละ 1.10 (ร้อยละ 89.10 จากทั้งโครงการ ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 88)
โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร หมายถึง การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมการพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปและประกาศเป็นกฎกระทรวงให้ใช้บังคับต่อเนื่องจากกฎกระทรวงให้ใช้บังคับฉบับปัจจุบัน ขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมืองรวม ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2562 1.แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาฯ/ขออนุมัติปรับปรุงผัง 2.สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 3.วางและจัดทำร่างผังเมืองรวม/ประชาชนให้ข้อคิดเห็น 4.คณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมเห็นขอบร่างผังเมืองรวม 5.ปิดประกาศและประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน 6.ปรับปรุงร่างผังเมืองรวมหลังประชุมประชาชน 7.คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมเห็นชอบร่างผังเมืองรวม 8.กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม 9.คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม 10.ปิดประกาศ 90 วัน /ประชาชนยื่นคำร้อง 11.คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวม กทม.พิจารณาคำร้อง 12.คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดพิจารณาคำร้อง 13.กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาคำร้อง 14.คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดแจ้งผลพิจารณาคำร้อง 15.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ ต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ 16.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ ต่อสภากรุงเทพมหานครพิจารณา (3 วาระ) 17.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในข้อบัญญัติฯ 18.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมายเหตุ การดำเนินการที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2563 คือ ขั้นตอนเตรียมการและประชาสัมพันธ์เพื่่อเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องระหว่างขั้นตอนปิดประกาศ 90 วัน และเตรียมการและสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนภาคการเมือง เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนและวิธีการในการยื่นคำร้อง
1. จำแนกขั้นตอนการปฏิบัติงานทั้งหมดของโครงการ (รวมทุกขั้นตอนเท่ากับร้อยละ 100) 2. กำหนดสัดส่วนเนื้องานแต่ละขั้นตอนว่ามีเนื้องานร้อยละเท่าใด (พิจารณาจากความสำคัญของเนื้องานในขั้นตอนนั้นๆ) 3. นำสัดส่วนเนื้องานแต่ละขั้นตอนหารด้วยจำนวนวันที่ใช้จริงในช่วงที่รายงานผล (จะได้ความก้าวหน้าของงานแต่ละขั้นตอนในช่วงที่รายงานผล) 4. หากในช่วงที่รายงานผลมีขั้นตอนงานมากกว่า 1 ขั้นตอน ให้นำความก้าวหน้าของแต่ละขั้นตอนมารวมกัน
:ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City |
:๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม |
:๔.๑.๒ ศูนย์ชุมชนย่อยในเมืองชั้นนอกเติบโตตามผังเมืองรวมอย่างเต็มศักยภาพ% |
:๔.๑.๑.๑ ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงผังเมืองรวมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป |