รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาระบบ BKK Risk Map : 1800-869

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
85.00

0 / 0
3
93.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) ได้จัดประชุมร่วมกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) และสำนักเทศกิจ (สนท.) เพื่อกำหนดรายละเอียดในการจัดทำข้อมูลในการนำเข้าระบบ BKK Risk Map เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 โดยที่ประชุมให้ สปภ.นำข้อมูลจากการแจ้งหนังสือเวียนแจ้งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อให้หน่วยงานสำรวจจุดเสี่ยงความปลอดภัยในพื้นที่รับผิดชอบในรูปแบบไฟล์ Excel ส่งให้ สปภ. ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 โดย สปภ. จะจัดส่งไฟล์รายละเอียดข้อมูลที่ได้ให้ สวพ. นำมาจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยในระบบ GIS เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมความเสี่ยง และจุดเสี่ยงต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครต่อไป 2. สวพ. กำหนดรูปแบบการนำเข้าข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ 2.1 ข้อมูลจุดเสี่ยงภัยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (Static) ประกอบด้วย 1) ข้อมูลจาก สปภ. ที่รวบรวมไฟล์ข้อมูลในรูปแบบไฟล์ Excel จากหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ข้อมูลจุดเสี่ยงในทุกมิติ ข้อมูลจุดพักพิงชั่วคราว 2) ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลของ สนท.) 2.2 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ BKK Risk Map ได้แก่ ข้อมูลที่ตั้งสถานีบริการปั๊มน้ำมัน สถานีบริการแก๊ส ชุมชน โรงเรียน สถานีตำรวจ โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขจุดเสี่ยงน้ำท่วม ประปาหัวแดง สถานีดับเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม 3. สวพ. ได้นำเข้าข้อมูลความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ และพัฒนาระบบ ซึ่งจากการศึกษารายละเอียดของข้อมูลที่ได้มานั้น ข้อมูลบางส่วนไม่สามารถนำเข้าสู่ระบบได้โดยตรง ข้อมูลมีความไม่สมบูรณ์ ขาดข้อมูลพิกัดของจุดเสี่ยง การกำหนดประเภทภัยของจุดเสี่ยง และยังไม่มีการกำหนดค่าของระดับความเสี่ยง และได้มีการหารือร่วมกันในการปรับปรุงข้อมูลร่วมกับ สปภ. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยในเบื้องต้น สวพ. ได้นำข้อมูลที่มีอยู่เข้าระบบเพื่อออกแบบการแสดงผล และ สปภ. ได้มีหนังสือไปยังหน่วยงานเพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น 4. สวพ. ได้นำเสนอระบบต่อที่ประชุมหารือร่วมกันโดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) รองปลัดกรุงเทพมหานคร (นางวันทนีย์ วัฒนะ) และทีมที่ปรึกษา และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) โดยมอบนโยบายในการจัดทำ BKK Risk Map และที่ประชุมได้ให้คำแนะนำในการจัดทำระบบ BKK Risk Map รวมทั้งกำหนดเวลาและเป้าหมายในการดำเนินการ คือ 4.1 ภายในสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนพฤศจิกายน 2565 นำเข้าข้อมูล Base Map ให้แล้วเสร็จ 4.2 ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน 2565 นำเสนอระบบที่มีการนำเข้าข้อมูลประเภทภัย 6 ด้าน โดยให้ประสานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสำนักงานประชาสัมพันธ์ร่วมตรวจสอบระบบ 4.3 นำเสนอระบบที่แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2565 4.4 กำหนดให้ระบบมีการเปิดใช้งานในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 5. สวพ. ปรับปรุงระบบฯ ตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุมในข้อ 4 เรียบร้อยแล้วและเปิดใช้งานระบบเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่ https://cpudapp.bangkok.go.th/bkkriskmap 6. อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบ Bkk Risk Map ระยะที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. จัดประชุมการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย (Bkk Risk Map) ครั้งที่ 1 ระหว่างหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) และหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการ (R) ประกอบด้วย สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักเทศกิจ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักพัฒนาสังคม และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566 2. จัดประชุมหน่วยงาน H และ R เพื่อชี้แจ้งและทำความเข้าใจระบบงาน และได้ให้หน่วยงานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าระบบ เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 66 3. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) ทีมที่ปรึกษา สวพ. และ บริษัท MIT ร่วมประชุมหารือร่วมกันโดยคำแนะนำให้ปรับปรุง UX/UI ของระบบให้มีความน่าสนใจและเข้าใจง่ายขึ้น เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 66 4.. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) ทีมที่ปรึกษา สวพ. และ บริษัท MIT ร่วมประชุมหารือ เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 66 โดยให้คำแนะนำในการปรับปรุง ดังนี้ - การปรับปรุงเว็บไซต์หน้าแรก (Home Page) - การปรับปรุง Graphical Interface - การปรับปรุงชั้นข้อมูลที่สำคัญ โดยเน้นความเสี่ยง และคำอธิบาย - ระบบการปรับปรุงข้อมูลความเสี่ยงของหน่วยงานเจ้าของภารกิจจุดเสี่ยง - สร้างเครื่องมือในการปรับปรุงจุดพักคอยที่เหมาะสมกับจุดเสี่ยง 5. สวพ. ประชุมร่วมกับ สพส. เพื่อทำความเข้าใจในการนำเข้าข้อมูล และการใช้งานระบบ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 66 6. สวพ. ปรับปรุงระบบฯ ตามข้อคิดเห็นของการประชุม 7. สวพ. ประชุมหารือร่วมกับ สสล. เพื่อทำความเข้าใจในการนำเข้าข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของรายการข้อมูล 8. สวพ. ปรับปรุงข้อมูลในรายการตามที่ได้รับการประสานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลประปาหัวแดง สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง พื้นที่ให้บริการสถานีตำรวจ พื้นที่ให้บริการสถานีดับเพลิง จุดฝืด แก้ จุดฝืด (ช่วงเวลารถติด)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ประชุมกับหน่วยงานเทศกิจ หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 66 โดยคำแนะนำให้พัฒนา และปรับปรุงระบบดังนี้ 1. พัฒนาระบบนำเข้าข้อมูลจุดเสี่ยง 2. พัฒนาระบบตรวจสอบและแก้ข้อมูลจุดเสี่ยง 3. พัฒนาระบบรายงานและวิเคราะห์การนำเข้าข้อมูล - สวพ. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสำรวจพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร ของสำนักเทศกิจเรียบร้อยแล้ว - เพิ่มข้อมูลสนับสนุนจุดเสี่ยงดอกไม้เพลิงในจุดเสี่ยงภัยสารเคมี - เพิ่มข้อมูลสนับสนุนจุดเสี่ยงแก๊สในจุดเสี่ยงภัยสารเคมี - เพิ่มข้อมูลสนับสนุนจุดเสี่ยงฌาปนสถานในกรุงเทพมหานครในจุดเสี่ยงภัย PM 2.5

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ระบบ BKK Risk Map หมายถึง ระบบรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในหลายมิติของชีวิต ทั้งการเดินทาง การเลือกโซนที่อยู่อาศัย และการอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจัดการกับจุดเสี่ยงในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ความสำเร็จของการดำเนินการหารด้วยเป้าหมายในการดำเนินการคูณด้วยร้อย

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง