ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
กิจกรรมประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร >> เจ้าหน้าที่ของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยในพื้นที่ ดำเนินการตรวจสอบชุมชนอาคารสูงที่อยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมจัดทำแผนสำรวจชุมชุมอาคารสูง โดยปัจจุบันได้มีการส่งข้อมูลให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย มาแล้ว จำนวน 5 ชุมชน (ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กปก. 2) ได้แก่ ชุมชนแฟลต 1-10 ชุมชนแฟลต 11-18 ชุมชนแฟลต 19-22 ชุมชนแฟลต 23-24 และชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 (จากค่าเป้าหมายทั้งสิ้น 85 ชุมชน ดำเนินการไปแล้ว 5 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 5.88 ของค่าเป้าหมาย)
กิจกรรมประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร >> เจ้าหน้าที่ของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยที่ตรวจสอบชุมชนอาคารสูงที่อยู่ในความรับผิดชอบ จัดทำแผนสำรวจชุมชุมอาคารสูง โดยกรอกข้อมูล ตามแบบ 1 ตามบัญชีรายชื่อชุมชนอาคารสูงทั้งหมดจำนวน 85 ชุมชน (เอกสาร ก) ยกเลิก 1 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านพักกองกำกับการสายตรวจ เหลือ 84 ชุมชน โดยส่งให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัยมาแล้วจำนวน 79 ชุมชน ได้แก่ - กปก. 1 จำนวน 24 ชุมชน - กปก. 2 จำนวน 14 ชุมชน - กปก. 3 จำนวน 34 ชุมชน - กปก. 4 จำนวน 6 ชุมชน - กปก. 5 จำนวน 1 ชุมชน - กปก. 6 จำนวน - ชุมชน รวม 79 ชุมชน และได้ดำเนินการสำรวจชุมชนอาคารสูง ตามแบบ 2 ตามบัญชีรายชื่อชุมชนอาคารสูง ส่งให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัยมาแล้วจำนวน 72 ชุมชน ประกอบด้วย - กปก.1 จำนวน 23 ชุมชน - กปก.2 จำนวน 14 ชุมชน - กปก.3 จำนวน 34 ชุมชน - กปก.5. จำนวน 1 ชุมชน
กิจกรรมประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร >> เจ้าหน้าที่ของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยที่ตรวจสอบชุมชนอาคารสูงที่อยู่ในความรับผิดชอบ จัดทำแผนสำรวจชุมชุมอาคารสูง โดยกรอกข้อมูล ตามแบบ 1 ตามบัญชีรายชื่อชุมชนอาคารสูงทั้งหมดจำนวน 85 ชุมชน (เอกสาร ก) โดยส่งให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัยมาแล้วจำนวน 83 ชุมชน ได้แก่ - กปก. 1 จำนวน 23 ชุมชน - กปก. 2 จำนวน 14 ชุมชน - กปก. 3 จำนวน 35 ชุมชน - กปก. 4 จำนวน 6 ชุมชน - กปก. 5 จำนวน 2 ชุมชน - กปก. 6 จำนวน 3 ชุมชน รวม 83 ชุมชน และได้ดำเนินการสำรวจชุมชนอาคารสูง ตามแบบ 2 ตามบัญชีรายชื่อชุมชนอาคารสูง ส่งให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัยมาแล้วจำนวน 83 ชุมชน ประกอบด้วย - กปก.1 จำนวน 23 ชุมชน - กปก.2 จำนวน 14 ชุมชน - กปก.3 จำนวน 35 ชุมชน - กปก.4 จำนวน 6 ชุมชน - กปก.5 จำนวน 2 ชุมชน - กปก.6. จำนวน 3 ชุมชน รวม 83 ชุมชน โดยได้นำเรียนผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เพื่อโปรดทราบแล้ว
ชุมชนอาคารสูง หมายถึง ชุมชนอาคารสูง ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. 2564 หมายถึง ชุมชนที่มีสภาพเป็นแฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ หรืออาคารอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 85 ชุมชน (ข้อมูลจากสำนักพัฒนาสังคม ณ เดือนเมษายน 2565) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กำหนดดำเนินการทั้งหมด 85 ชุมชน ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ผลลัพธ์ของโอกาสที่จะเกิดภัยหรืออันตราย และผลกระทบจากภัยหรืออันตราย โดยคำนึงถึงความสามารถในการป้องกัน ตอบโต้และบรรเทา ฟื้นฟูจากภัยหรืออันตรายนั้น ๆ ในที่นี้ไม่รวมถึงความเสี่ยงภัยหรืออันตรายที่เกิดจากความตั้งใจ หรือจงใจ ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด การประเมินและการจัดระดับความเสี่ยงอัคคีภัย คือ กระบวนการที่นำองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสาธารณภัยมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อช่วยให้บุคคลชุมชน และสังคมสามารถต่อสู้หรือรับมือกับ สาธารณภัยได้ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสาธารณภัยที่นำมาพิจารณาประกอบด้วยโอกาสที่จะเป็นอันตราย ผลกระทบ และศักยภาพในการป้องกัน ตอบโต้และบรรเทา ช่วยเหลือหากเกิดสาธารณภัย และกระบวนการประมาณระดับความเสี่ยงของภัยหรืออันตราย เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงและตัดสินใจในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งองค์ประกอบการประเมินความเสี่ยง ได้แก่ - ความเสี่ยงอัคคีภัย คือ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและจะนำมาซึ่งผลกระทบทางลบต่อวิถีชีวิตของชุมชน และ/หรือทรัพย์สินซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ อาจได้แก่ การบาดเจ็บ ความสูญเสียและทรัพย์สิน เป็นต้น - โอกาสที่จะเป็นอันตราย หมายถึง การกำหนดความเป็นไปได้ที่ชุมชนจะต้องประสบอัคคีภัย โดยพิจารณาจากลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งการประเมินโอกาสที่จะเป็นอันตรายของพื้นที่และชุมชนที่ประเมินความเสี่ยงอัคคีภัยนั้น ให้ถือว่าหากในเขตพื้นที่ประเมินมีสิ่งที่มีโอกาสเป็นอันตรายสูงที่สุดที่มีอยู่ - ผลกระทบ หมายถึง หากเกิดอัคคีภัย ในชุมชนจะมีผลกระทบทางลบต่อจำนวนประชาชนในชุมชนและทรัพย์สินมากน้อยเพียงใด (ไม่รวมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ผลกระทบต่อบุคคล และผลกระทบต่อทรัพย์สิน - ศักยภาพ หมายถึง สมรรถนะหรือกำลังความสามารถของประชาชน เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ประเมิน รวมถึงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ประเมินที่เอื้อต่อการป้องกันการเกิดอัคคีภัย การตอบโต้ต่ออัคคีภัยและการบรรเทาช่วยเหลือเมื่อเกิดอัคคีภัย ซึ่งการประเมินศักยภาพของพื้นที่และชุมชนประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การป้องกันการเกิดอัคคีภัย การตอบโต้ต่ออัคคีภัย และ การบรรเทาช่วยเหลือเมื่อเกิดภัย
จำนวนชุมชนอาคารสูงที่ได้รับการประเมินฯ และได้รับการปรับปรุงแก้ไข ---------------------------------------------------------------------------------------- x 100 จำนวนชุมชนอาคารสูงทั้งหมด
1) แบบประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนอาคารสูง 2) ผลการประเมินความเสี่ยงตามแบบประเมินความเสี่ยงและจัดระดับความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ข้อมูลผลการประเมินความเสี่ยงของชุมชนอาคารสูงที่แสดงสถานที่ตั้งชุมชนและสีที่แสดงระดับความเสี่ยงในระบบ GIS 4) รายงานผลการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงฯ พร้อมข้อเสนอแนะ 5) หนังสือเวียนแจ้งผลการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงฯ ให้แก่สำนักงานเขตในพื้นที่ 6) รายงานการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนอาคารสูงทั้ง 85 แห่ง
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๔ ลดความล่อแหลมและความเปราะบางของชุมชน |