ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
กิจกรรมการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต และระดับกรุงเทพมหานคร พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่ >> ตามที่กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ดังนั้น สปภ. จึงได้มีหนังสือแจ้งไปยังสำนัก และสำนักงานเขต ให้ดำเนินการจัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและการฝึกซ้อมแผน ฯ ของหน่วยงาน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือหากเกิดสาธารณภัย ทั้งนี้ สปภ. ได้มีการกำหนดวันจัดประชุมคณะกรรมการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ชั้น 1 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
กิจกรรมการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต และระดับกรุงเทพมหานคร พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่ >> ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 เพื่อชี้แจงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร รวมถึงการดำเนินการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ทำรายงานการประชุมและเวียนแจ้งให้คณะกรรมการทราบเพื่อพิจารณารับรองรายงานการประชุม และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครได้รับรองรายงานการประชุมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยกรุงเทพมหานคร ตามประเภทของสาธารณภัย
กิจกรรมการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต และระดับกรุงเทพมหานคร พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่ >> ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยกรุงเทพมหานคร ตามประเภทของสาธารณภัย (9แผน 9 ภัย) ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต และระดับจังหวัด หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่ออำนวยการ และปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยแบ่งออกเป็นคณะกรรมการฯ ระดับเขต และระดับจังหวัด ซึ่งรับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนด
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๓ เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือในการจัดการสาธารณภัย โดยเฉพาะอัคคีภัย EM |