ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
กิจกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำปีของสำนักงานเขต >> ได้มีการดำเนินการแล้ว ดังนี้ 1. สปภ. ดำเนินการจัดประชุมหัวหน้าฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต เพื่อให้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต ผ่านระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Microsoft Team เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมดับเพลิงจิ๋ว ชั้น 2 อาคารสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) เป็นประธานการประชุม ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และรองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการสำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม 2. สปภ. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 1802/ว 93 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2566 เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและการฝึกซ้อมแผนฯ ของหน่วยงาน โดยรองปลัดกรุงเทพมหานคร (นางวันทนีย์ วัฒนะ) รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร ลงนามสั่งการให้สำนักงานเขตดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของตนเอง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และลักษณะความเสี่ยงภัยในแต่ละเขตพื้นที่ อย่างน้อย 3 – 5 ประเภทภัย ตามเค้าโครงแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำนักงานเขต.....พ.ศ. 2564 – 2570 โดยปัจจุบันมีสำนักงานเขตที่ส่งแผนฯ เพื่อให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการตรวจสอบแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 4 สำนักงานเขต ประกอบด้วย สำนักงานเขตปทุมวัน สำนักงานเขตทวีวัฒนา สำนักงานเขตหนองแขม และสำนักงานเขตห้วยขวาง
กิจกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำปีของสำนักงานเขต >> สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 1802/902 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เรื่อง ขอให้เร่งรัดจัดส่งแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต โดยประสานขอสำนักงานเขตที่ยังมิได้ดำเนินการจัดทำแผนฯและคำสั่งจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันฯ ให้เร่งรัดการดำเนินการ พร้อมส่งข้อมูลดังกล่าว ให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งทางแบบฟอร์มออนไลน์ (Google Forms) และทางเอกสาร ภายในวันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ การจัดทำแผน ขอให้ดำเนินการจัดทำแผนหลักจำนวน 3 ภัย ประกอบด้วย อัคคีภัย ภัยจากมลพิษทางอากาศ PM2.5 และภัยจากโรคระบาด ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน ส่วนภัยอื่น ๆ ให้เป็นไปตามความสอดคล้องกับสถานการณ์และ ลักษณะความเสี่ยงในเขตพื้นที่ โดยปัจจุบันมีสำนักงานเขต จัดส่งแผนปฏิบัติการป้องกันฯ มาแล้วทั้งสิ้น 49 สำนักงานเขต และมีสำนักงานเขตที่ยังไม่ได้จัดส่งแผนดังกล่าวเพียง 1 สำนักงานเขต คือ สำนักงานเขตสวนหลวง
กิจกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำปีของสำนักงานเขต >> สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย ได้รับแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำนักงานเขต รวมทั้งคำสั่งการจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำนักงานเขต ครบถ้วนทุกสำนักงานเขตทั้ง 50 สำนักงานเขต แล้ว และได้มีหนังสือนำเรียนปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อโปรดนำเรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทราบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต หมายถึง สำนักงานเขต ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2566 ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564 - 2570 เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติของหน่วยงาน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ หมายถึง การนำโครงการ/กิจกรรม ที่ได้กำหนดไว้ในแผนฯ ไปดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยต้องกำหนดองค์กรหรือบุคคลที่รับผิดชอบและวิธีการดำเนินการที่ชัดเจน
ความสำเร็จของการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต และนำไปสู่การปฏิบัติ
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๓ เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือในการจัดการสาธารณภัย โดยเฉพาะอัคคีภัย EM |