ค่าเป้าหมาย ครั้ง/เขต : 1
ผลงานที่ทำได้ ครั้ง/เขต : 100
ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
กิจกรรมฝึกซ้อมตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง >> ปลัดกรุงเทพมหานครลงนามเห็นชอบ หนังสือด่วนที่สุด ที่ กท 1802/693 วันที่ 9 มี.ค. 66 สั่งการให้สำนักงานเขตดำเนินการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุตามแผนฯ ให้สอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงภัยในแต่พื้นที่แบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ดำเนินการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดทักษะ ประสบการณ์ และการประสานการปฏิบัติงานเมื่อเกิดสถานการณ์จริง โดยให้รายงานผลการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุตามแผนฯ และจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 30 เม.ย. 66 และครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 31 ส.ค. 66
กิจกรรมฝึกซ้อมตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง >> ขณะนี้อยู่ระหว่าง สำนักงานเขตดำเนินการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุตามแผนฯ และรายงานผลการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุตามแผนฯ จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 30 เม.ย. 66 และครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 31 ส.ค. 66 อย่างไรก็ตาม จากกรณีเหตุการณ์ถังดับเพลิงระเบิดในโรงเรียนราชวินิตมัธยม ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จึงได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0400/240 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เรื่อง การดำเนินการกรณีเหตุการณ์ถังดับเพลิงระเบิดในโรงเรียนราชวินิตมัธยม ข้อ 1.2 ชะลอการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีภัยทุกกรณี จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จหรือได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานของวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกซ้อมดับเพลิงจากหน่วยงานกลาง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นต้น ดังนั้น จึงเห็นควรให้ชะลอการดำเนินการตามกิจกรรมดังกล่าวไปก่อน
กิจกรรมฝึกซ้อมตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง >> ตามที่ เกิดเหตุถังดับเพลิงที่ใช้ในการฝึกซ้อมตามแผนอพยพหนีไฟของโรงเรียนราชวินิตมัธยม ระเบิด ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งต่อมานางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร ได้สั่งการให้ชะลอการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟทุกกรณี จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ จากประเด็นดังกล่าว สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ยื่นขออุทธรณ์ตัวชี้วัด เพื่อขอปรับลดค่าเป้าหมายการดำเนินงานในตัวชี้วัด “ร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการฝึกซ้อมตามแผนเผชิญเหตุ” เนื่องจากไม่สามารถออกดำเนินการฝึกซ้อมได้ ผลการขอยื่นอุทธรณ์เพื่อขอปรับลดค่าเป้าหมายการดำเนินงานตามชี้วัดดังกล่าว ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ ขอยกอุทธรณ์ ทำให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จึงได้มีหนังสือเวียนประสานแจ้งไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งดำเนินการ ผลปรากฏว่า สามารถดำเนินการฝึกซ้อมตามแผนเผชิญเหตุให้กับชุมชนเป้าหมายได้จำนวนทั้งสิ้น 219 ชุมชน จากเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 210 ชุมชน ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
การฝึกซ้อมการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาภัยด้านสาธารณภัย หมายถึง การกระทำเพื่อให้เกิดความรู้ ความชำนาญ ทักษะ ประสบการณ์ ในการปฏิบัติด้านสาธารณภัย โดยเป็นการฝึกปฏิบัติของผู้เข้าร่วมการฝึกจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสมมุติเหตุการณ์ขึ้น ถือเป็นการเตรียมพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร และระบบปฏิบัติการให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจ บทบาทหน้าที่เพื่อรองรับการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนอาสาสมัครและประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนครั้งของการฝึกซ้อมตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๔ ลดความล่อแหลมและความเปราะบางของชุมชน |