ค่าเป้าหมาย สถานี : 2
ผลงานที่ทำได้ สถานี : 50
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
กิจกรรมการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทั้งทางบกและทางน้ำ >> รายงานความคืบหน้าการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิง ดังนี้ 1. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีคำสั่งที่ 45/2566 ลว. 23 ก.พ.2566 แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานพิจารณาการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยเพิ่มเติมให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. การหาพื้นที่ในการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกุ้ภัยทางน้ำต่อเนื่องจากปี 2565 ดังนี้ 2.1 บริเวณโรงเรือวัดสร้อยทอง ปัจุบันได้รับงบประมาณเรียบร้อย และกำลังดำเนินการปรับปรุงใช้เป็นเป็นสถานีดับเพลิงและกุ้ภัยทางน้ำ มีกำหนดระยะเวลา 200 วัน (สำนักการโยธา กรุงเทพฯ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ) 2.2 สถานีดับเพลิงและกุ้ภัยทางน้ำยอดพิมาน อยู่ระหว่างให้โยธาเขตพระนครดำเนินการออกแบบโครงสร้าง และถอดประมาณราคา ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการถอดราคางานระบบ และคานยกเรือ 2.3 สถานีดับเพลิงและกุ้ภัยทางน้ำราษฎร์บูรณะ ซอย 1 อยู่ระหว่างรอรูปแบบอาคารสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำยอดพิมาน (ขนาดพื้นที่เท่ากัน) 2.4 สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำการท่าเรือคลองเตย ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบโครงสร้างของอาคาร และการท่าเรือได้มีการนัดหมายหารือนอกรอบกับคณะทำงานฯ เรื่องทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันระหว่างสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับ การท่าเรือคลองเตย 3.คณะทำงานในการหาพื้นที่ฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจสถานที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำ (นโยบายของรัฐ) บริเวณคลองเปรมประชากร 4.วันที่ 22 ก.พ.2566 คณะทำงานในการหาพื้นที่ฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจดูพื้นที่เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางบก บริเวณซอยนิมิตใหม่ 36
กิจกรรมการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทั้งทางบกและทางน้ำ >> รายงานความคืบหน้าการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิง ดังนี้ 1. การหาพื้นที่ในการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกุ้ภัยทางน้ำต่อเนื่องจากปี 2565 ดังนี้ บริเวณโรงเรือวัดสร้อยทอง ปัจุบันได้รับงบประมาณเรียบร้อย และกำลังดำเนินการปรับปรุงใช้เป็นเป็นสถานีดับเพลิงและกุ้ภัยทางน้ำ มีกำหนดระยะเวลา 200 วัน (สำนักการโยธา เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ) ณ ปัจจุบัน คืบหน้าไปแล้วประมาณร้อยละ 40 2. โครงการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำยอดพิมาน สถานที่ตั้งบริเวณปากทางเข้าตลาดยอดพิมาน แขวงบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สำนักงานเขตพระนครได้ดำเนินการออกแบบรูปแบบโครงสร้างและถอดราคาของอาคารเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้สำนักงานเขตพระนคร ได้ส่งรูปแบบโครงสร้างของอาคารดังกล่าว ให้กับสำนักการโยธา เพื่อทำการถอดแบบระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกลของโครงสร้างอาคารยกเรือ 3. โครงการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำท่าเรือคลองเตย สถานที่ตั้งบริเวณ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย ได้มีการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันระหว่างสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างประสานงานหารือในรายละเอียดเพื่อลงนามความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาพื้นที่ตามโครงการเป็น Smart City ในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ต่อไป
กิจกรรมการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทั้งทางบกและทางน้ำ >> รายงานความคืบหน้าการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีดับเพลิง ดังนี้ 1.สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำบางซื่อ (วัดสร้อยทอง) โครงการปรับปรุงอาคารโรงจอดเรือวัดสร้อยทอง ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 เริ่มต้นสัญญา วันที่ 6 มกราคม 2566 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ล่าสุดได้รับการประสานจากผู้ควบคุมงานของสำนักการโยธา แจ้งว่า มีแนวทางที่จะขอขยายสัญญาถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2566 เนื่องจากปริมาณงานช้ากว่าแผนที่กำหนด ทั้งนี้ ได้ดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ รอการส่งมอบพื้นที่คืนจากสำนักการโยธา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสาร 2. โครงการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำยอดพิมาน สำนักงานเขตพระนคร ได้ดำเนินการถอดราคาระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกลโครงสร้างอาคารยกเรือ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 ขณะนี้ เรื่องอยู่ที่สำนักงานออกแบบ ส่วนที่ 1 สำนักการโยธาซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากติดภารกิจโครงการก่อสร้างอาคารธานีนพรัตน์ เมื่อแล้วเสร็จถึงจะดำเนินการ 3. โครงการก่อสร้างสถานีดับเพลิงและกู้ภัยทางน้ำท่าเรือคลองเตย ได้รับการประสานจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ว่า ได้รับการอนุมัติงบประมาณในการออกแบบแล้ว ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานภายในปี 2567 และเริ่มโครงการก่อสร้างฯ เดือนตุลาคม 2568 โดยปัจจุบัน การท่าเรือแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข MOU ระหว่าง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๔ ลดความล่อแหลมและความเปราะบางของชุมชน |