รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการ ที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว : 2000-795

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 10

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

-ทบทวน/จัดทำคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงานบริกรข้อมูลของหน่วยงาน -สำรวจข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมดภายใน หน่วยงาน -นำรายการข้อมูลทั้งหมดจากผลสำรวจมาจัดทำเป็นบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) -นำส่งคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงานบริการข้อมูลของหน่วยงานบัญชีรายการข้อมูลและแผนพัฒนาข้อมูลฯ ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล -คณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครพิจารณา รายละเอียดข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-มี.ค. 66 ได้คัดเลือกชุดข้อมูลจำนวน 17 ชุดข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

เม.ย. รวบรวมและคัดเลือกข้อมูลจำนวน 17 ชุด พ.ค. 66 จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง พร้อมจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เพื่อเผยแพร่ชุดข้อมูลผ่านศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 มิ.ย. 66 การคัดเลือกชุดข้อมูล จำนวน 17 ชุดข้อมูล ให้เหลือ 3 ชุดข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาเป็น Dashboard ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ได้เห็นชอบในการจัดทำ 3 ชุดข้อมูล ได้แก่ (1) ข้อมูลงบประมาณในการปรับปรุง ถนน ตรอก ซอยฯ (2) ข้อมูลงบประมาณการติดตั้งและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะของกรุงเทพมหานคร (3) ข้อมูลงบประมาณปรับปรุงลานกีฬาของกรุงเทพมหานคร การคัดเลือกชุดข้อมูลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับนโยบายผู้ว่ากรุงเทพมหานคร 9 ด้าน ใน 3 นโยบาย คือ - ข้อมูลงบประมาณในการปรับปรุง ถนน ตรอก ซอยฯ สอดคล้องกับนโยบายเดินทางดี - ข้อมูลงบประมาณการติดตั้งและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับนโยบายปลอดภัยดี - ข้อมูลงบประมาณปรับปรุงลานกีฬาของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับนโยบายสุขภาพดี ทั้งนี้ การคัดเลือกและจัดทำชุดข้อมูลทั้ง 3 ชุดข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็น Dashboard ลงในเว็บไซต์ data.bangkok.go.th ของกรุงเทพมหานคร และเว็บไซต์ office2.bangkok.go.th/budd/main ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน และเพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลในด้านการบริหารงบประมาณของกรุงเทพมหานครต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ก.ค.- รายงานความก้าวหน้าให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร - จัดทำ Dashboard และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ส.ค. - ก.ย. 66 - จัดทำ Dashboard จำนวน 3 ชุดข้อมูล และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน เรียบร้อยแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ชุดข้อมูล (Dataset) หมายความว่า ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้จากหลายแหล่ง และนำข้อมูล มาจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูลที่กำหนดไว้หรือการใช้ประโยชน์ของข้อมูล ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันได้ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมหรือภารกิจของหน่วยงาน โดยแต่ละฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลายๆ ชุดข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กัน บัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายชุดข้อมูลอย่างละเอียด เป็นรายตัวแปร โดยมีส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูลรายตัวแปร 3 รายการ ได้แก่ ชื่อตัวแปรข้อมูล ชนิดของตัวแปรข้อมูล และคำอธิบายตัวแปรข้อมูล ชุดข้อมูลที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine-readable) หมายถึง ข้อมูลต้องมีโครงสร้างสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องและนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้ โดยมีคุณลักษณะที่เหมาะสม ดังนี้ 1. ข้อมูลต้องมีโครงสร้างโดยจะต้องจัดอยู่ในรูปแบบแถวและคอลัมน์ 2. ข้อมูลแต่ละรายการจะต้องจัดเก็บอยู่ในช่องหรือเซลล์เดียวเท่านั้น 3. การตั้งชื่อคอลัมน์ควรสอดคล้องตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของภาษาคอมพิวเตอร์ 4. ข้อมูลควรถูกจัดโครงสร้างในรูปแบบตารางรายการ (Transaction Table) 5. รูปแบบของข้อมูลจะต้องมีความคงเส้นคงวา (Consistency) 6. ข้อมูลควรถูกจัดเก็บในรูปแบบรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจง่าย 7. ชุดข้อมูลจะต้องกำหนดประเภทการเข้ารหัส (Encoding) ที่สอดคล้องกับภาษาของข้อมูลที่จัดเก็บ 8. ชุดข้อมูลควรบันทึกอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม 9. ชุดข้อมูลต้องบันทึกอยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถประมวลผลด้วยเครื่อง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง