รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของความสำเร็จในการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเพื่อประชาคมเมือง : 2100-0799

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่มีความถี่การเปลี่ยนแปลงให้พร้อมปรับปรุงเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของปฏิบัติงานตามแผนดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เตรียมการจัดทำข้อมูล GIS เพิ่มเติมจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รายการ อยู่ระหว่างประชุมทีมงานพัฒนาระบบฯ เพื่อจัดทำข้อมูล GIS เพิ่มเติม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ได้มีการประชุมทีมงานพัฒนาระบบฯ เพื่อจัดทำข้อมูล GIS เพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ ออกแบบข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ได้กำหนดโครงสร้างชั้นข้อมูลใหม่แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการนำเสนอวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว โดยได้จัดทำคู่มือการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ (เพิ่มเติม) และเผยแพร่ระบบที่ปรับปรุงเพิ่มเติมขึ้นบนอินเตอร์เน็ตแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเพื่อประชาคมเมือง หมายถึง ระบบที่จะเป็นสื่อกลางในการ นำข้อมูลสารสนเทศของเมืองสู่การให้บริการและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้ ปรับปรุง เสนอแนะ ข้อมูลของเมือง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จะดำเนินการในระยะที่ 2 ในการปรับปรุงข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเพิ่มเติม และนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงพื้นที่ เช่น ประชากร เป็นต้น ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความสำเร็จในการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเพื่อประชาคมเมือง (ระยะที่ 2) วัดจากขั้นตอนของการดำเนินการ ดังนี้ 1. แจ้งเวียนหน่วยงานทราบเพื่อเข้าใช้งานระบบฯ 2. สอบถามความพึงพอใจและความต้องการใช้ข้อมูล GIS เพิ่ม 3. เตรียมการจัดทำข้อมูล GIS เพิ่ม - ประชุมทีมงานเพื่อจัดทำข้อมูล GIS ที่ผู้ใช้ต้องการจากการสอบถาม 4. วิเคราะห์ ออกแบบข้อมูล 5. ปรับปรุงฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้านการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ 6. นำข้อมูลที่จัดทำเข้าสู่ระบบ และทดสอบระบบ 7. ปรับแก้พร้อมติดตั้งระบบ 8. จัดทำเอกสารคู่มือการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (เพิ่มเติม) 9. เผยแพร่ระบบที่ปรับปรุงเพิ่มเติมขึ้นบนอินเทอร์เน็ต

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

พิจารณาจากผลการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ดำเนินการได้ หารด้วยจำนวนขั้นตอนดำเนินการทั้งหมด คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง