รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

จำนวนรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นแนวทางการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายสู่มหานครอัจฉริยะ : 2100-1044

ค่าเป้าหมาย ฉบับ : 1

ผลงานที่ทำได้ ฉบับ : 15

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ฉบับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
1.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อกำหนดพื้นที่เริ่มต้นในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ โดยศึกษาข้อมูล หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อมูลพื้นที่ของกรุงเทพมหานครที่มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

เลือกบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยความร่วมมือระหว่างกทม.กับม.ศิลปากร ปัจจุบันอยู่ระหว่างรวบรวมข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง MOU ความร่วมมือระหว่างกทม.กับม.ศิลปากร เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครนำเรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ และพิจารณาผู้ลงนาม และเตรียมแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ปรับตัวชี้วัดเป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลให้ความเห็นชอบตามที่กองยุทะศาสตร์บริหารจัดการเสนอ ซึ่งมีการปรับตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีคำนวณจากเดิม ซึ่งต้องดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาพื้นที่สู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นการจัดทำรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นแนวทางการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายสู่มหานครอัจฉริยะ ตามแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

พื้นที่เป้าหมาย หมายถึง พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นมหานครอัจฉริยะ (Smart City) และได้รับคัดเลือก มหานครอัจฉริยะ หมายถึง มหานครที่มีสภาพแวดล้อม (ecosystem) ในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้วยวิธีอันชาญฉลาดเหมาะสมกับบริบทของเมืองและพื้นที่ จาก ๗ ลักษณะการพัฒนา คือ เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และการจัดการปกครองอัจฉริยะ (Smart Governance) ตามความต้องการและความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น หมายถึง ผลการศึกษาเบื้องต้นที่ศึกษา รวบรวม ซึ่งสามารถจัดทำเป็น (ร่าง)รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นแนวทางการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายสู่มหานครอัจฉริยะ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น ตามที่นิยามกำหนด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. (ร่าง)รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นแนวทางการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายสู่มหานครอัจฉริยะ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง