รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ไปสู่การปฏิบัติ (โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม) : 2100-2038

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.00
100
100 / 100
2
2.00
100
100 / 100
3
2.00

0 / 0
4
5.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่สศด.0301/02210 ลว. 26 ต.ค.64 เเจ้งผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านการพิจารณาเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ "ประเภทเมืองเดิม" 2. นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกุงเทพมหานคร เข้าร่วมพิธีมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ อาคารภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล 3 อยู่ระหว่างเเต่งตั้งคณะทำงานเมองอัจฉริยะของสำนักยุทธศาสตร์เเละประเมินผล เพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการแล้วเสร็จในระดับ ๒ ดังนี้ ข้อ ๑ มีภาคีร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร ข้อ ๒ จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครฯ ระดับพื้นที่ ได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการเพื่อฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม (ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการบริหารแผนงานบูรณาการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เห็นชอบให้คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการเพื่อฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษมปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุน กำกับ และติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม เพื่อลดความซ้ำซ้อน ในการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครฯ)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. สยป.ร่วมกับ USL นำเสนอผลการระดมความคิดเห็นจากภาคีต่างๆ เพื่อนำข้อมูลให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำข้อเสนอโครงการ ในวันที่ 15 และ 24 มิ.ย. 65 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(เสาชิงช้า) 2 สยป. โดย กยภ.และ กสศ. ร่วมกับ สนน. และ DEPA ได้ประชุมร่วมกันเพื่อหารือถึงเเนวทางการพัฒนาเเพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Plateform) เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการเเล้วเสร็จ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม 1. พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หมายถึง พื้นที่ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาการเป็นเมืองอัจฉริยะ ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย 2. การขับเคลื่อน หมายถึง การดำเนินงานเพื่อผลักดันให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพมหานครบรรลุตามเป้าหมายและสอดคล้องกับขั้นตอนที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกำหนด ประกอบด้วย 2.1 มีการจัดเก็บและบริหารข้อมูลของเมือง (City Data Platform) 2.1.1 มี Platform ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร 2.1.2 มีการนำเข้าชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ (Area Base) และข้อมูลจากการปฏิบัติงาน (Function Base) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป้าหมาย 2.2 มีกระบวนการถ่ายทอด รายละเอียดการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ ระบบบริการ กิจกรรม หรือโครงการสู่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2.2.1 สยป. จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อทบทวนรายละเอียดการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครที่ได้รับการพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย โดยหน่วยงานสามารถเสนอโครงการ/กิจกรรมสำคัญเพิ่มเติมได้กรณีที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ 2.2.2 สยป. ทบทวน/กำหนดข้อมูลที่จำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานเมืองอัจฉริยะอย่างน้อย 4 ด้าน* ตามข้อเสนอโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะฯ 2.2.3 สยป. แสวงหาภาคีร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครฯ จากหน่วยงานภายนอก สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน กลุ่มประชาสังคม ชุมชน ฯลฯ และจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเมืองเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครฯ ระดับพื้นที่ 2.2.4 สยป. หน่วยงาน กทม. และภาคี ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมคัดเลือกและกำหนดงาน/โครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อผลักดันเป้าหมายโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หรือปีงบประมาณถัดไป พร้อมกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการในแต่ละช่วงปี 2.3 สยป. ติดตามประเมินผลความสำเร็จตามแผนการดำเนินงาน (2.2.4) และนำเสนอผลการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลเมืองอัจฉริยะตามเป้าหมายความสำเร็จของความเป็นเมืองอัจฉริยะในแต่ละด้าน อย่างน้อย 4 ด้าน* ตามข้อเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาการเป็นเมืองอัจฉริยะ ที่กรุงเทพมหานครเสนอต่อ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ระดับที่ 1 ทบทวนรายละเอียดการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครที่ได้รับการพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ระดับที่ 2 1. แสวงหาภาคีร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครฯ จากหน่วยงานภายนอก สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน กลุ่มประชาสังคม ชุมชน ฯลฯ 2. จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเมืองเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครฯ ระดับพื้นที่ ระดับที่ 3 สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงาน กทม. และภาคี ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมคัดเลือกและกำหนดงาน/โครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อผลักดันเป้าหมายโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หรือปีงบประมาณถัดไป ระดับที่ 4 การจัดเก็บและบริหารข้อมูลของเมือง (City Data Platform) - มี Platform ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร - มีการนำเข้าชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ (Area Base) และข้อมูลจากการปฏิบัติงาน (Function Base) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป้าหมาย ระดับที่ 5 ความสำเร็จในการดำเนินงาน - ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กรุงเทพมหานครต้องดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - สามารถนำเสนอผลการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลเมืองอัจฉริยะตามเป้าหมายความสำเร็จของความเป็นเมืองอัจฉริยะในแต่ละด้าน อย่างน้อย 4 ด้าน* ตามข้อเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาการเป็นเมืองอัจฉริยะ ที่กรุงเทพมหานครเสนอต่อ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. จากการรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ของกรุงเทพมหานคร 2. ข้อมูลจากระบบ City Data Platform

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
:๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม
:๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ%
:๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง