รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของการสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการของ 4 ส่วนราชการด้านดิจิทัลบนมาตรฐานการให้บริการ (Service Level Agreement) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ e-Service ของกรุงเทพมหานคร : 2100-2040

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
2.00
100
100 / 100
3
4.00

0 / 0
4
5.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการตัวชี้วัด เรียบร้อยแล้ว คิดเป็นร้อยละ 5 2. อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 5

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างดำเนินการในระดับ 1 - 2 โดยความสำเร็จทั้ง 2 ระดับจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2565 1. รวบรวมข้อมูลการบริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของ 4 ส่วนราชการด้านดิจิทัล เพื่อจัดทำมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร (ระดับความสำเร็จที่ 1) 2. ยกร่างต้นแบบระบบ (Prototype) เพื่อสร้างระบบงานมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (ระดับความสำเร็จที่ 2)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างดำเนินการในระดับ 5 1. คณะกรรมการฯ พิจารณามาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล มีมติให้ทบทวนและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ (ระดับความสำเร็จที่ 1) 2. คณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ต้นแบบระบบ (Prototype) ขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติงาน เรียบร้อยแล้ว (ระดับความสำเร็จที่ 2-3) 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Management System) เรียบร้อยแล้ว (ระดับความสำเร็จที่ 4) 4. อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ สถานที่ และประชาสัมพันธ์ เพื่อเปิดให้บริการ (ระดับความสำเร็จที่ 5)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

แล้วเสร็จ 1. จัดทำมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (ระดับความสำเร็จที่ 1) 2. พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Management System : DMS) (ระดับความสำเร็จที่ 2-4) 3. จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ชั้น 9 อาคารธานีนพรัตน์ และเปิดให้บริการรับแจ้งปัญหาโดยใช้ระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (DMS) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน (ระดับความสำเร็จที่ 5)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการบนมาตรฐานการให้บริการ (Service Level Agreement) หมายถึง การสร้างมาตรฐานการให้บริการโดยมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบงาน (Application on Web) เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างเป็นระบบ เช่น จำนวนบุคลากร ยุทธศาสตร์และแผนงาน โครงการ กระบวนงานในการดำเนินงาน เวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน องค์ความรู้เฉพาะด้าน (skill) ของบุคลากรในแต่ละสาขา และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ นำมาออกแบบและสร้างรูปแบบการให้บริการ (e-Service) บนมาตรฐานการให้บริการ (Service Level Agreement) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลเดียวกัน (Single Database) เพื่อนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทำการวิเคราะห์ วางแผน ใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่กระบวนการ แก้ไข ปรับปรุง พัฒนาระบบการให้บริการให้มีมาตรฐานในระดับที่สูงขึ้น และพัฒนาต่อยอดขยายระบบการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบของบริการต่างๆ (e-Service) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีนิติสัมพันธ์กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร โดยตัวระบบที่เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (e-Service) ประกอบไปด้วยฟังก์ชันการทำงานหลัก ดังนี้ 1. ระบบมีการบริหารจัดการปัญหาที่มาจากหลากหลายช่องทาง (โทรศัพท์, อีเมล์, Web Portal, Social Media) มีการรับแจ้งปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ส่งต่อไปยัง 4 ส่วนราชการด้านดิจิทัล 2. ระบบมีการติดตามสถานะการทำงาน และมีการแจ้งเตือนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. ออกแบบระบบบนหลักการของมาตรฐาน (Service Level Agreement) 4. ระบบสามารถบริหารจัดการองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น (Knowledge Management) และสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้ภายนอกได้ 5. ระบบสามารถสรุปผลและรายงานผลในรูปแบบของ Dashboard ความสำเร็จของการสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ 4 ส่วนราชการด้านดิจิทัลบนมาตรฐานการให้บริการ (Service Level Agreement) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ (e-Service) ของกรุงเทพมหานคร หมายถึง มีระบบงานที่สามารถใช้ในการขับเคลื่อนในการบริหารจัดการการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลบนมาตรฐาน (Service Level Agreement) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ (e-Service) มาตรฐานการให้บริการ หมายถึง เกณฑ์ที่กำหนดบทบาทหน้าที่และวิธีปฏิบัติต่อผู้ขอรับบริการ ประกอบด้วย ทักษะความรู้ ขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลา บนมาตรฐานเดียวกัน (Service Level Agreement) เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วัดความสำเร็จจากผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนด ระดับ 5 >> มีระบบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Application on Web) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (e-Services) ของกรุงเทพมหานคร ระดับ 4 >> พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Application on Web) ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรทุกด้านที่มีอย่างเป็นระบบ บนมาตรฐานการให้บริการ (Services Level Agreement) ระดับ 3 >> 4 ส่วนราชการด้านดิจิทัล พิจารณาตัวต้นแบบระบบ (Prototype) ที่ได้ออกแบบร่วมกัน เพื่อให้ความเห็นชอบ ระดับ 2 >> ออกแบบต้นแบบระบบ (Prototype) เพื่อสร้างระบบงานมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ ของ 4 ส่วนราชการด้านดิจิทัลบนมาตรฐานการให้บริการ (Services Level Agreement) ระดับ 1 >> จัดทำมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานครที่มีขั้นตอนและระยะเวลาที่ชัดเจน ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (Service Level Agreement : SLA) พร้อมเสนอผู้บริหารและเผยแพร่หน่วยงาน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ช่องทางการให้บริการในการเก็บรวบรวมข้อมูลการขอรับบริการหรือการรับแจ้งปัญหาการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลบนช่องทางมาตรฐานหลักช่องทางเดียว 2. จัดทำมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลบนมาตรฐาน (Service Level Agreement) 3. มีระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการ (Services Level Agreement) 4. มีระบบงานที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการให้บริการในประเด็นปัญหาหรือความต้องการของผู้รับบริการบนระบบฐานข้อมูลเดียว (Single Database) เพื่อติดตามสถานะการให้บริการ (Tracking Service) แก่ผู้ขอรับบริการ และสามารถเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) เพื่อนำมาปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการให้มีประสิทธิภาพในระดับที่สูงมากขึ้น และมีข้อมูลที่จะพัฒนาต่อยอดระบบการให้บริการ (e-Service) ที่สะท้อนความต้องการของผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการอย่างแท้จริงและสามารถสรุปผลและรายงานผลการให้บริการที่ดำเนินการอยู่แก่ผู้บริหารระดับสูง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง