รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

จำนวนพื้นที่ที่จะนำไปพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม : 2200-0793

ค่าเป้าหมาย แห่ง : 300

ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 369

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(แห่ง)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
187.00
100
100 / 100
3
274.00
100
100 / 100
4
369.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสวนย่อม/สวนสาธารณะ ในปี 2560 ดำเนินการแล้ว 187 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสวนย่อม/สวนสาธารณะ ในปี 2560 ดำเนินการแล้ว 274 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการจัดหาพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสวนย่อม/สวนสาธารณะ แล้ว 369 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ 774 ไร่ 3 งาน 66.30 ตร.วา

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- สวนสาธารณะหลัก หมายถึง สวนที่มีองค์ประกอบดังนี้ 1. มีรั้วรอบขอบชิด 2. กำหนดเวลาปิด-เปิด ที่แน่นอน 3. มีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลประจำ 4. สามารถรองรับและให้บริการประชาชนทั่วไป 5. มียามรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัย 24 ชั่วโมง 6. มีพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับหมุนเวียนตลอดปี 7. มีสิ่งอำนวยต่างๆ ทั้งส่วนนันทนาการและกีฬา 8. มีกฎหมาย และระเบียบการใช้สวนสำธารณะที่กรุงเทพหานครประกาศใช้ในสวนสำธารณะ - พื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ/สวนหย่อมหมายถึง 1. พื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวน หย่อม/สวน สาธารณะ (ตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อน ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/กำแพง/ผนังตึก/รั้ว ฯลฯ) ซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวน สาธารณะ/สวนหย่อม ทั้ง ๗ ประเภท 2. การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวน สาธารณะ/สวนหย่อมต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่ >2 ตร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวรเท่านั้น อาจดำเนินการดังต่อไปนี้ 2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนหย่อม/สวนสาธารณะ 2.3 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่งจัดทำเป็นสวนแนวตั้ง(แบบถาวร) เช่น ปลูกตามแนวกำแพง/รั้ว/ผนังอาคาร/ตามสิ่งก่อสร้างอาคารสะพานลอด ฯลฯ 2.4 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4x4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้นเป็นพื้นที่ 1 ไร่ การคิดพื้นที่สวนป่า คิดจากจำนวนต้อนไม้ยืนต้นที่ปลูก 100 ต้นคิดเป็นพื้นที่ปลูกป่า 1 ไร่ โดยทั้งนี้ให้นับเฉพาะการปลูกเต็มพื้นที่และรวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน 2.5 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน ริมคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของระยะทางที่ปลูก 3. การเพิ่มพื้นที่สวน สาธารณะสามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 3.1 กรุงเทพมหานครดำเนินการเองโดยใช้และไม่ใช้งบประมาณ 3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการ 3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 4. การจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 4.1 สวนสาธารณะซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 4.2 สวนสาธารณะของสำนักงานสวนสาธารณะ 4.3 สวนสาธารณะซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 4.4 อื่นๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ เพิ่มเติมจากการปรับแผน 60

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ใช้ข้อมูลสวนสาธารณะ/สวนหย่อมจาก “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร(http://203.155.220.220/parks)” ซึ่งแสดง สัดส่วนพื้นที่สวน สาธารณะ/สวนหย่อมต่อประชากรของกรุงเทพมหานคร (ตร.ม./คน) ณ เดือนกันยายนของ ปีที่ตรวจประเมิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

รวบรวมผลการดำเนินการจากหน่วยที่ดำเนินการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ%
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง