รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 2200-1018

ค่าเป้าหมาย คะแนน : 100

ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คะแนน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
95
95 / 100
2
20.00
0
0 / 0
3
40.00
0
0 / 0
4
100.00
95
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยุ่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างโครงการเพื่อนำเสนอสำนักงาน กก.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดทำโครงการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

เนื่องจากสถานการโควิด จึงมีคำสั่งปิดสวนสาธารณะ ทำให้ยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการภายในพื้นที่สวนสาธารณะได้ อยู่ระหว่างปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการเนื่องจากสถานการโควิด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

เนื่องจากสถานการณ์ Covid 19 ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในพื้นที่สวนสาธารณะได้ สำนักสิ่งแวดล้อมจึงได้นำนวัตกรรม LINE Official Account : ENVI Hero!! มาใช้ในสำนักงานแทนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้สโลแกน " We can be Heroes" และเก็บสถิติพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอย และสะสมแต้ม การเก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปสถิติพฤติกรรมการลดและคัดแยกขยะของสมาชิก และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกรับทราบ โดยปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 402 คน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ดำเนินการครบถ้วนตาม 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนการค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการคัดเลือกความคิดเห็นจากขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการนำเสนอโครงการ ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการจัดทำแบบสารวจผลการนานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ตรวจสอบผลการดำเนินการตาม 5 ขั้นตอน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๔ มีการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง