ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 6
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
๑. โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการทำหนังสือเชิญวิทยากรและหนังสือตอบรับวิทยากรในการเสวนาทั้ง 3 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะการแสดง สาขาทัศนศิลป์ สาขาดนตรีและการขับร้องรวมทั้งหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมงาน และจัดทำหนังสือขอใช้สถานที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ๒. โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร กำหนดวันประชุมคณะกรรมส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2564 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องเอราวัณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดทำหนังสือเชิญประชุม และจัดทำระเบียบวาระการประชุม
1. โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร 1. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร - ดำเนินการจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้คัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำ มภ.2 และขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญากรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1) ตำนานท้าวอู่ทอง เขตบางเขน สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2) นเสบ สาขาศิลปะการแสดง 3) งานประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเซิงหวาย) เขตบางซื่อ สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4) ตำรับอาหารชาววัง พระวิมาดาเธอฯ เขตดุสิต สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5) ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6) การแข่งว่าว สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 2. กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว กำหนดสถานที่ลงพื้นที่จัดกิจกรรม 3 แห่ง ดังนี้ 1) ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 2) นเสบ สาขาศิลปะการแสดง 3) ศิลปะป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 3. จัดทำวีดีทัศน์รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชี จำนวน 3 รายการ อยู่ในระหว่างจัดทำ TOR ดังนี้ 1) ตำราดูลักษณะแมวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ (นวม พุทฺธสโร) วัดอนงคาราม เขตคลองสาน 2) ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 3) ศิลปะป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 4. จัดทำนิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร อยู่ในระหว่างจัดทำ TOR นิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการขึ้นบัญชีในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1) ตำนานจระเข้ดาวคะนอง สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2) สำนักดนตรีไทยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) สาขาศิลปะการแสดง 3) ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4) ขนมตึงตัง เขตบางนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5) ผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6) ศิลปะป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 2. กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาปรับปรุงข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร รวบรวมข้อมูลปรับปรุงองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในแต่ละสาขาให้ทันสมัยมากขึ้น จากการสัมภาษณ์จากผู้รู้ในแหล่งเรียนรู้ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะการแสดง สาขาทัศนศิลป์ สาขาดนตรีและการขับร้อง และเตรียมลงพิ้นที่จัดเก็บข้อมูลสาขาสถาปัตยกรรม ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
1. โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว โดยมีนายสมบูรณ์ หอมนาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย - วันที่ 17 มีนาคม 2564 สาขาศิลปะการแสดง มีกิจกรรม ดังนี้ 1.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ “ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา” 1.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ 1.3 การจัดแสดงนิทรรสการผลงานของสมาขิกเครือข่ายสาขาศิลปะการแสดง - วันที่ 18 มีนาคม 2564 สาขาทัศนศิลป์ มีกิจกรรม ดังนี้ 2.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ “ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร” 2.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ประกอบด้วย กิจกรรมภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ 2.3 กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะCollage Art 2.4 กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ 2.5 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่ายสาขาทัศนศิลป์ - วันที่ 19 มีนาคม 2564 สาขาดนตรีและการขับร้อง มีกิจกรรม ดังนี้ 3.1 กิจกรรมจัดเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ “ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร” 3.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาดนตรีและการขับร้อง 3.3 จัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ เจ้าหน้าที่ส่วนวัฒนธรรม ข้าราชการครูผู้สอนวิชาดนตรี โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต จำนวนสาขาละ 147 คน จำนวน 3 วัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 441 คน โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร 1. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร - อยู่ระหว่างค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารเพื่อจัดทำ มภ.2 รายการ มรดกภูมิปัญญาฯ ที่ได้รับคัดเลือกขึ้นบัญชี ประจำปี 2564 และกำหนดประชุมอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2. กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการท่องเที่ยว – งดการจัดกิจกรรมเนื่องจากมเป็นการรวมตัวของกลุ่มเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร และต้องมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ยังคงรุนแรงอยู่ 3. กิจกรรมจัดทำวีดีทัศน์รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชี – ได้ผู้รับจ้างจัดทำแล้ว อยู่ในระหว่างพิจารณา story board สำหรับการจัดทำวีดิทัศน์ และรูปแบบของนิทรรศการที่จะจัดทำ รวมถึงการวิเคราะห์ และตรวจทานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ ที่จะนำเสนอ 4. กิจกรรมจัดทำนิทรรศการรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร – ได้ผู้รับจ้างจัดทำแล้ว อยู่ในระหว่างพิจารณา story board และรูปแบบของนิทรรศการที่จะจัดทำ รวมถึงการวิเคราะห์ และตรวจทานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ ที่จะนำเสนอ
รายละเอียดผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ดำเนินการจัดกิจกรรมของเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาจำนวน 6 เครือข่าย 29 กิจกรรม ดังนี้ 1. เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร สาขาศิลปะการแสดง 3 กิจกรรม 1.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา 1.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ 1.3 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย สาขาศิลปะการแสดง 2. เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร สาขาทัศนศิลป์ 5 กิจกรรม 2.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร 2.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ ภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ 2.3 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ สร้างสรรค์ศิลปะCollage Art 2.4 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ สร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ 2.5 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย 3. เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร สาขาดนตรีและการขับร้อง 3 กิจกรรม 3.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร 3.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาดนตรีและการขับร้อง 3.3 จัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย 4. เครือข่ายกีฬาว่าวจุฬา - ปักเป้า เขตตลิ่งชัน 5 กิจกรรม 4.1 ลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูล การแข่งขันว่าวไทยจุฬา - ปักเป้า เพื่อจัดทำแบบ มภ. 2 รายการ การแข่งว่าวจุฬา – ปักเป้า สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว สำหรับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2564 4.2 ประชุมเตรียมการจัดการแข่งขันว่าวไทยจุฬา - ปักเป้า ของชมรมว่าวจุฬา-ปักเป้า ฝั่งธนบุรี 4.3 กิจกรรมการแข่งขันว่าวไทยจุฬา - ปักเป้า ของชมรมว่าวจุฬา-ปักเป้าฝั่งธนบุรี ในงานอนุรักษ์และสืบสานตำนานว่าวไทย ณ วัดกำแพง 4.4 กิจกรรม ICONSIAM SUMMER KITE PLAYGROUND ณ ICONSIAM 4.5 กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรมในรายการเพื่อนพระจันทร์ ตอน ประวัติว่าวไทย 5. เครือข่ายวัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง 7 กิจกรรม 5.1 ประชุมเตรียมการจัดงานประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) 5.2 จัดกิจกรรมประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) 5.3 ประชาสัมพันธ์การจัดงานประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) 5.4 ประกาศขึ้นบัญชี รายการประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 5.5 กิจกรรมจัดทำวีดิทัศน์ ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) 5.6 กิจกรรมจัดทำชุดนิทรรศการ ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) 5.7 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ และจัดทำแบบทดสอบการเรียนรู้ รายการ ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เพื่อเผยแพร่แก่เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร 6. เครือข่ายค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม 6 กิจกรรม 6.1 ประชุมเตรียมการจัดทำวีดิทัศน์และชุดนิทรรศการ 6.2 ประกาศขึ้นบัญชี รายการศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 6.3 กิจกรรมจัดทำวีดิทัศน์ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม 6.4 กิจกรรมจัดทำชุดนิทรรศการศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม 6.5 กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรมในรายการเพื่อนพระจันทร์ ตอน ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทย ค่ายพระยาตาก อาจารย์กฤษณ์ ฤทธิ์เดชา 6.6 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ และจัดทำแบบทดสอบการเรียนรู้ รายการ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม
นิยาม เครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร หมายถึง หน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และภาคประชาชน ในโซนพื้นที่ที่เกี่ยวข้องด้านศาสนา ลปวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นเครือข่ายในเชิงพื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่จะมีสมาชิกเครือข่ายด้าน พหุวัฒนธรรม อยู่ในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งกำหนดเป็น 6 เครือข่ายใน 6 พื้นที่ การพัฒนา หมายถึง จัดให้มีการประชุม เสวนาวิชาการเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และพัฒนา ปรับปรุงเนื้อหามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่ของกลุ่มเครือข่าย รวมถึงจัดให้มีการพัฒนาเครือข่ายให้เป็นที่รู้จักผ่านการประชาสัมพันธ์ทาง Social Media หรือนิทรรศการ
วิธีคำนวณ นับจากจำนวนเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่อยู่ในเขตต่าง ๆ ที่ประสานความร่วมมือด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม มรดก ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยจัดทำบัญชีชื่อเครือข่ายพร้อมข้อมูลสมาชิก และ สวท. ร่วมกับแต่ละเครือข่ายได้จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยมีเอกสารหรือภาพถ่ายกิจกรรม ที่ดำเนินการร่วมกัน วิธีคำนวณ นับจากจำนวนเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่อยู่ในเขตต่าง ๆ ที่ประสานความร่วมมือด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม มรดก ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยจัดทำบัญชีชื่อเครือข่ายพร้อมข้อมูลสมาชิก และ สวท. ร่วมกับแต่ละเครือข่ายได้จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยมีเอกสารหรือภาพถ่ายกิจกรรม ที่ดำเนินการร่วมกัน วิธีคำนวณ นับจากจำนวนเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่อยู่ในเขตต่าง ๆ ที่ประสานความร่วมมือด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม มรดก ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยจัดทำบัญชีชื่อเครือข่ายพร้อมข้อมูลสมาชิก และ สวท. ร่วมกับแต่ละเครือข่ายได้จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยมีเอกสารหรือภาพถ่ายกิจกรรม ที่ดำเนินการร่วมกัน เกณฑ์การให้คะแนน ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการจัดกิจกรรมของเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาครบถ้วนตามที่กำหนด” แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 กำหนดพื้นที่และจัดทำแผนดำเนินการการจัดตั้งเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร (3 คะแนน) ระดับ 2 จัดประชุมกับเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครทั้ง 6 เครือข่าย (6 คะแนน) ระดับ 3 เครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่ได้รับการพัฒนา 6 เครือข่าย และจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง/เครือข่าย (9 คะแนน) ระดับ 4 เครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่ได้รับการพัฒนา 6 เครือข่าย และจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง/เครือข่าย (12 คะแนน) ระดับ 5 เครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่ได้รับการพัฒนา 6 เครือข่าย และจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง/เครือข่าย (15 คะแนน)
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. จัดทำบัญชีชื่อเครือข่ายพร้อมข้อมูลสมาชิก และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการติดต่อประสานความร่วมมือได้ 2. เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม และภาพถ่ายการจัดกิจกรรมของแต่ละเครือข่าย 3. รายงานสรุปผลการจัดกิจกรรมของเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
:๓.๔ - สังคมพหุวัฒนธรรม |
:๓.๔.๑ คนกรุงเทพฯที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและ% |
:๓.๔.๑.๓ พัฒนากลไกและเครือข่ายการขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ |